ศึกษากระบวนการและรูปแบบของเสื่อกกเพื่อพัฒนาสู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์แนวศิลปะไทยร่วมสมัย

Main Article Content

ยุวดี พรธาราพงศ์
อาณัฎ ศิริพิชญ์ตระกูล
มยุรี เรืองสมบัติ
ดรุณรัตน์ พิกุลทอง

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อกกสู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในแนวศิลปะไทยร่วมสมัยวิธีการศึกษาเป็นวิจัย เชิงทดลอง ด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของงานวิจัยนี้ มีการออกแบบเฟอร์นิเจอร์การใช้งานที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งรับแรงบันดาลใจจากกลีบดอกบัว ในงานลายไทย ซึ่งเป็นงานศิลปะที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของไทย ที่เป็นมรดกสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ศิลปินได้รับแรงบันดาลใจและอิทธิพลมาจากธรรมชาติ ดอกบัว เป็นต้นแบบหนึ่งของลายไทย รูปทรงแสดงความรู้สึกถึงความอบอุ่น จากลายเส้นที่มีความโค้งอ่อนโยน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบ แบ่งได้ 3 รูปแบบ โดยมีความแตกต่างกันด้านหน้าที่และประโยชน์ใช้สอย  แต่ด้านแนวคิดเป็นการแสดงออกด้วยเนื้อหาเรื่องราวของรูปทรงของกลีบดอกบัวเหมือนกันโดย รูปแบบที่ 1 เป็นเก้าอี้ครึ่งนั่งครึ่งนอน(Couch) รูปแบบที่ 2  เป็นเก้าอี้เดี่ยว(Arm Chair) และรูปแบบที่ 3 เป็นโต๊ะข้างวางของตั้งโชว์ (End table) การหาประสิทธิภาพ ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านการใช้งาน ของการนำเสื่อกกมาออกแบบทำเฟอร์นิเจอร์  รูปแบบที่ได้ คือ รูปแบบที่  1 เก้าอี้ครึ่งนั่งครึ่งนอน(Couch) ผลการทดสอบ มีค่าเฉลี่ย  4.39  ซึ่งอยู่ในระดับดี เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมกับการนำเสื่อกกจันทบูรมาพัฒนาในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์มากที่สุด  ด้วยเรื่องของโครงสร้างที่แข็งแรงทนทานสำหรับรับน้ำหนักการนอนได้เป็นอย่างดี และ คุณสมบัติของเสื่อกกที่สำหรับไว้ปูนอน คุณสมบัตินี้จึงนำมาใช้ในการออกแบบเพื่อรองรับการนอน ปรับเปลี่ยนดัดแปลงทำเป็นลอนเพื่อให้เกิดพื้นผิว ที่ไม่เรียบ มีความโค้งเว้าซึ่งสามารถช่วยในการนวดช่วงหลังของผู้นอนทำให้รู้สึกผ่อนคลายและนอนสบาย เป็นการส่งเสริมเรื่องประโยชน์ใช้สอย ด้านการใช้งานได้มากที่สุดรวมทั้งด้านความพึงพอใจเฟอร์นิเจอร์แนวคิดศิลปะไทยร่วมสมัยที่สื่อถึงความเป็นศิลปะไทยมากที่สุดยังเป็นรูปแบบที่ 1 ซึ่งได้รับความพึงพอใจมากที่สุด เป็นรูปแบบที่สนับสนุนความเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยสามารถพัฒนารูปทรงให้มีความเป็นสมัยใหม่เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันได้

Abstract

Reed mat making process for development of Thai contemporary art furniture design was researched in an experimental type which involved various functioned furniture.  The design was inspired by the shape of blossom lotus petals.  The shape of blossom lotus petal has been one of unique characteristics in Thai painting for a long time.  Artists from the old days got their inspiration from nature. The curve and soft outline of the pattern represents warmth and kindness of Thai people.  Therefore, the soft outline is the beginning of this design which comes in 3 types.  Each type has its own functions but shares the same inspiration from a blossom lotus petal.  The first type is a couch; second is an arm chair; and the last is an end table. Questionnaires were used to collect data about effectiveness, utilization, and function of reed mat. Statistics showed that the average of the couch was 4.39 which is in good level. The couch could be the most suitable choice for development of reed mat furniture, due to its strong structure and its capacity to carry heavy load.  The reed was already used a mat to lie on. So, just shaping it into a curve according to Ergonomics theory, it will become a very comfortable couch.  This is one way to improve the function of Thai contemporary furniture.  Results also showed high satisfaction average rate at 4.57 which are the highest score. Therefore, the couch is the best candidate to be applied into more contemporary furniture with Thai art character.

Article Details

How to Cite
[1]
พรธาราพงศ์ ย., ศิริพิชญ์ตระกูล อ., เรืองสมบัติ ม., and พิกุลทอง ด., “ศึกษากระบวนการและรูปแบบของเสื่อกกเพื่อพัฒนาสู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์แนวศิลปะไทยร่วมสมัย”, RMUTP Research Journal, vol. 7, no. 2, pp. 131–138, Sep. 2013.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)