การพัฒนารูปแบบเฟรมเวิร์คธนาคารข้อสอบบนระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ

Main Article Content

ปิยะ ถิรพันธุ์เมธี
พัลลภ พิริยะสุรวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

        รูปแบบเฟรมเวิร์คธนาคารข้อสอบบนระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดในการพัฒนารูปแบบระบบสารสนเทศที่รวมคุณลักษณะของระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆภายในองค์กรร่วมกับการพัฒนาโปรแกรมในรูปแบบของโครงร่างซอฟต์แวร์หรือเฟรมเวิร์คสำหรับให้บริการธนาคารข้อสอบเพื่อนำไปพัฒนาเป็นเครื่องมือสำหรับจัดทำธนาคารข้อสอบโดยทำการออกแบบเฟรมเวิร์คธนาคารข้อสอบตามแนวคิดการออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ ซึ่งทำให้ได้ซอฟต์แวร์ที่สามารถนำกลับมาใช้และสามารถนำไปพัฒนาต่อโดยไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ทั้งหมด   รูปแบบของเฟรมเวิร์คที่พัฒนาขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่  ส่วนการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนแสดงผลรวมถึงเชื่อมต่อกับผู้ใช้งานระบบ  และ ส่วนบริการเว็บทำหน้าที่ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฐานข้อมูลที่กระจายอยู่ตามเครื่องผู้ให้บริการเฟรมเวิร์คธนาคารข้อสอบ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยที่ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบเฟรมเวิร์คธนาคารข้อสอบบนระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ที่พัฒนาขึ้น คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษา จำนวน 15 คน  สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการประเมินพบว่ารูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมระดับมากที่สุดทุกด้าน ยกเว้นด้านขั้นตอนและกิจกรรมการนำระบบบริการเฟรมเวิร์คธนาคารข้อสอบไปใช้งานอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

          The item bank framework on cloud computing is developed to present the concept progress of an information system which combines the features of the private cloud and the program development of software framework for the item bank service. The designs based on item bank frameworks of object oriented programming concept design. It leads to the new software that can be reused and  has further development. The developed frameworks are divided into two parts:  1) the connection to the user interface which functions as the display and connection to the system and 2) the website service, serves the exchange of data between distributed databases in servicer’s computers of the item bank service by the internet  networking. The number of 15 samples in the research evaluation are the specialists in information technology and education. The statistics used in this research are the mean and standard deviation. The result revealed that the developed model is  suitable at the highest level in all aspects except the service and implementation of the examination bank framework are in the high level.

Article Details

How to Cite
[1]
ถิรพันธุ์เมธี ป. and พิริยะสุรวงศ์ พ., “การพัฒนารูปแบบเฟรมเวิร์คธนาคารข้อสอบบนระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ”, RMUTP Research Journal, vol. 8, no. 2, pp. 27–41, Oct. 2014.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)