องค์ประกอบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในการศึกษาสร้างสรรค์บนเครือข่ายสังคม เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

Main Article Content

ฉันทนา ปาปัดถา
ณมน จีรังสุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในการศึกษาสร้างสรรค์บนเครือข่ายสังคมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในการศึกษาสร้างสรรค์บนเครือข่ายสังคมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มี 3 องค์ประกอบหลัก17 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์คือ จัดกระบวนการเรียนรู้ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ค้นพบปัญหา (2) รวบรวมข้อมูล (3) วิเคราะห์ ค้นพบคำตอบ (4) ทบทวน/ประเมินค่า (5) ยอมรับผลจากการค้นพบ และ (6)ความคิดรวบยอด 2) แหล่งทรัพยากร คือ สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนับสนุนกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สื่อการเรียนรู้ (2)เทคโนโลยี(3) บริบท/สภาพแวดล้อม และ (4) การสื่อสารและ 3) เทคโนโลยี คือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการรองรับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ เครือข่ายเผยแพร่ตัวตน เครือข่ายสร้างสรรค์ เครือข่ายความสนใจตรงกัน เครือข่ายร่วมกันทำงาน เครือข่ายเกม/โลกเสมือน และเครือข่ายการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับผู้ใช้ซึ่งเป็นเครื่องมือในจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) เครือข่ายเผยแพร่ตัวตน (2) เครือข่ายสร้างสรรค์ (3) เครือข่ายความสนใจตรงกัน (4) เครือข่ายร่วมกันทำงาน (5) เครือข่ายเกม/โลกเสมือน และ (6) เครือข่ายการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับผู้ใช้

 

Abstract

The purposes of this research were to investigate elements that are essential for the learning environment of creative education on social network to develop creative thinking. The research methodology was documentary research. It was found that there were 3 major elements and 17 sub-elements which were essential for learning environment of creative education on social network to develop creative thinking; namely, 1) Creative thinking development or learning process included six steps: (1) problem finding, (2) data acquisition, (3) analysis, (4) solution finding, (5) revise/evaluation, (6) acceptance finding, and (7) convergent thinking; 2) Resources or learning environment included four elements: (1) learning media, (2) technology media, (3)context, and (4)communication; 3) Technologies  or online social network in learning environment consisted of six elements: (1) identity network, (2) creative network, (3) interested network, (4) collaboration network, (5) gaming/virtual reality, and (6) peer to peer communication network. 

Article Details

How to Cite
[1]
ปาปัดถา ฉ. and จีรังสุวรรณ ณ., “องค์ประกอบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในการศึกษาสร้างสรรค์บนเครือข่ายสังคม เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์”, RMUTP Research Journal, vol. 8, no. 2, pp. 56–69, Oct. 2014.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)