มูลค่าการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินในป่าพรุ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวางแปลงการศึกษาขนาด 10x10 ตารางเมตร โดยวิธีการ Stratified random sampling พื้นที่ละ 50 แปลง ทำการวัดความสูงและขนาดเส้นรอบวงเพียงอกของไม้ที่มีขนาดเส้นรอบวงเพียงอก > 15 เซนติเมตร แล้วนำมาคำนวณหามวลชีวภาพจากสมการแอลโลเมตรี และหาปริมาณการสะสมคาร์บอนโดยนำค่ามวลชีวภาพคูณด้วย conversion factor ซึ่งมีค่า 0.47 พบว่า มีชนิดพันธุ์ไม้ทั้งหมด 4 ชนิด 4 วงศ์ พันธุ์ไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นไม้เสม็ดขาว มีความหนาแน่นสูงถึง 2,091.31 ต้น/เฮกแตร์ ส่วนไม้อื่นๆ พบกระจายบางจุด ได้แก่ ไม้กระท่อมหมู จิก และโลด ซึ่งมีความหนาแน่นเพียง 4.67 2.67 และ 2.00 ต้น/เฮกแตร์ และพบว่ามีปริมาณคาร์บอนสะสมเหนือพื้นดินในไม้ใหญ่ 26.27 ตัน คาร์บอน/เฮกแตร์ โดยส่วนใหญ่จะสะสมในส่วนของลำต้น รองลงมาคือ กิ่ง และใบ โดยมีค่าปริมาณคาร์บอนสะสม 19.92 4.94 และ 1.62 ตัน คาร์บอน/เฮกแตร์ ตามลำดับ มูลค่าคาร์บอนเฉลี่ยในป่าเท่ากับ 86.77 บาท/เฮกแตร์
Abstract
This study was undertaken by using 10x10 m2 sampling plots chosen by stratified random sampling from 3 areas, 50 plots for each area. Height and diameter of all trees with girth breast height (GBH) stem > 15 cm were measured. Aboveground biomass was estimated by allometric equation and the carbon stock was calculated by multiplying biomass value with conversion factor of 0.47. Result founded 4 tree species in 4 families. The Melaleuca cajuputi Powell had quite high density of 2,091.31 tree/ha and other species found in some areas are Mitragyna brunonis Craib., Barringtonia coccinea Kostel., and Symplocos ferruginea Roxb, with the density of 4.67, 2.67 and 2.00 tree/ha, respectively. Amount of aboveground carbon stock was 26.27 tonne C/ha. Mostly, stem had higher carbon stock than branch and leaf at 19.92, 4.94 and 1.62 tonne C/ha, respectively. Average value of biomass carbon was 86.77 bath/ha.