การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเพิ่มประสบการณ์ของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษาเมื่อพิพิธภัณฑ์ปิดชั่วคราว

Main Article Content

อุทัยวรรณ จตุพร
กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล

Abstract

บทคัดย่อ

        พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับสื่อสารกับผู้เข้าชมหรือผู้ที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกัน และเพิ่มประสบการณ์ของผู้เข้าชมทั้ง 6 ด้านได้แก่ สันทนาการ การเข้าสังคม การเรียนรู้ สุนทรียศาสตร์ การมีส่วนร่วมและดึงดูดใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิพิธภัณฑ์ถูกปิดชั่วคราวเนื่องจากได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์จำเป็นต้องหาช่องทางในการจัดแสดงและติดต่อสื่อสารกับผู้ชมในรูปแบบอื่น บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสบการณ์ และนำเสนอคุณลักษณะของโปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย แกลลอรีและการจัดแสดงเสมือน คำบรรยายและรายละเอียดของวัตถุ การแสดงความเห็น การสร้างมโนภาพของข้อสรุปความคิดเห็น การเชื่อมโยงไปยังกลุ่มเพื่อนสมาชิก และการสร้างของที่ระลึก เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาเกี่ยวข้องกับการเขียนแอ็คชันสคริปต์บนเฟซบุ๊กซึ่งเป็นไลเบอรี่บนแฟลช การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และฟังก์ชันทางสังคมออนไลน์ได้แก่ การเช็คอิน การแชร์ความเห็น และโพสต์ข้อความ   

Abstract

        Museums and art galleries have utilized social media to communicate with their visitors or people who share the same interest and to improve visitors’ experience in six aspects: recreation, socialization, learning experience, aesthetic experience, participatory experience, and enchanting experience. This is very important, especially when the museum was temporarily closed because of damage from natural disasters. The museum has to find an alternative method to present their collections and communicate with their visitors. This paper will describe impact factors of museum visiting experience and introduce the design decision of social media application: virtual gallery, item description, annotations for user opinions, visualization of user opinions, links to users’ Facebook page, and souvenir shop. ActionScripts on Facebook which is a Flash library was used for design and development. Other user interface and online social functions included check-in, comment, like, and status post. 

Article Details

How to Cite
[1]
จตุพร อ. and สุขคณาภิบาล ก., “การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเพิ่มประสบการณ์ของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษาเมื่อพิพิธภัณฑ์ปิดชั่วคราว”, RMUTP Sci J, vol. 8, no. 2, pp. 184–199, Oct. 2014.
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)