การพัฒนาบรรจุภัณฑ์คุกกี้สมุนไพรไทย

Main Article Content

จุฑา พีรพัชระ
กิ่งกาญจน์ เสมอใจ

Abstract

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์คุกกี้สมุนไพรไทย และถ่ายทอดเทคโนโลยีในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ชุมชน เริ่มต้นจากการวิเคราะห์หารูปแบบที่เหมาะสมของบรรจุภัณฑ์ จัดทำ ตรวจสอบ และปรับปรุงแบบร่างบรรจุภัณฑ์ จัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ประเมินต้นแบบบรรจุภัณฑ์ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย การอบรม สร้างเครื่องมือในการวิจัย สำรวจความต้องการเข้ารับการฝึกอบรม สร้างหลักสูตรฝึกอบรม ดำเนินการฝึกอบรมและวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อต้นแบบบรรจุภัณฑ์ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.92สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีพบว่ากลุ่มตัวอย่างต้องการอบรมการทำคุกกี้ตะไคร้มากที่สุดคะแนนการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ผลงานสำเร็จของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ย 3.50-4.49 กระบวนการฝึกอบรมมีความเหมาะสม ในระดับมากทั้งกระบวนการฝึกอบรมผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย 4.28 และ 4.34 ตามลำดับ

Abstract

         The purposes of this operation research were to develop the packages of Thai herbal cookies and to conduct the technology transfer of Thai herbal cookies’ packages for the community. The research process which involves with packages’ pattern analysis, monitoring and operating packages’ design, making packages’ sample, evaluating packages’ sample, finishing the package, target group setting, creating the research methodology, investigating need analysis, training course setting, conducting the training course, and data analysis. The results of the study were 11styles of herbal cookies’ packages. The mean of the achievement in satisfaction evaluation was at 3.92. Need analysis for cookies courses are found in lemon grass cookies, kaffir lime leaves cookies, ginger cookies, mixed herbal flavour and coriander cookies respectively. There was significantly difference between pre-test and post-test scores of the experiment at 0.05 level of significance. The mean of the groups’ achievement evaluation was at 3.50-4.49. Program and training process evaluation qualified as the mean of the products and their packages was 4.28 and 4.34 respectively.

Article Details

How to Cite
[1]
พีรพัชระ จ. and เสมอใจ ก., “การพัฒนาบรรจุภัณฑ์คุกกี้สมุนไพรไทย”, RMUTP Research Journal, vol. 1, no. 2, pp. 187–196, Oct. 2014.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)