การตลาดและการสร้างข้อได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน ของผู้ประกอบการหัตถกรรม จังหวัดสงขลา

Main Article Content

วีราวรรณ มารังกูร
ปรีชญา ชุมศรี

Abstract

 บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการตลาดของผู้ประกอบการหัตถกรรมใยตาล และกลยุทธ์การสร้างข้อได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตลาดผลิตภัณฑ์ใยตาลและวิเคราะห์การแข่งขันเพื่อเป็นแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าหัตถกรรม วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง โดยการสัมภาษณ์ประธานกลุ่ม และผู้ผลิตที่เป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายที่ผลิตผลิตภัณฑ์ใยตาลจำนวน 4 กลุ่ม พื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ผลจากการศึกษาพบว่า การผลิตผลิตภัณฑ์ใยตาล มี 2 ลักษณะคือการทอและการจักสานและนำไปประกอบตกแต่งจนเป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ ตลาดของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย การขายสินค้าตามงานเทศกาลต่างๆ การรับคำสั่งซื้อ และการฝากขาย กลยุทธ์สำคัญของการสร้างข้อได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน คือ กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุน กลยุทธ์ ความแตกต่าง และกลยุทธ์มุ่งเฉพาะกลุ่ม กลุ่มผู้ประกอบการหัตถกรรมใยตาล มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง เนื่องจากสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้ ตลอดจนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายมีความสามารถในการแข่งขันจนอยู่รอดและยั่งยืนตลอดไป

Abstract

        This research aimed to study the marketing of handicrafts from sugar palm fiber and the strategies to enhance compatible marketing and study sugar palm fiber products’ market and analyze the competition to increase the potential in the handicraft market competition. The methodology used was qualitative research using identified sampling by interviewing the group leaders and the members of local community enterprises who produce handicrafts from sugar palm fiber in four areas in Amphur Sathing-Pha, Songkhla Province. The result revealed that there were two kinds of products from sugar palm fiber: weaved and wickerwork and using the products as decorating items to create various style of handicrafts. The marketing of the products composed of selling in festivals, made to order, and consignment. The main compatible advantages were costing strategies, differentiating, and Niche or Focus strategy. The palm fiber entrepreneur has high opportunity to succeed due to the increasing potential competition ability. Further more, promotion and OTOP products development can make value added to entrepreneurs for sustainability in competition.

Article Details

How to Cite
[1]
มารังกูร ว. and ชุมศรี ป., “การตลาดและการสร้างข้อได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน ของผู้ประกอบการหัตถกรรม จังหวัดสงขลา”, RMUTP Sci J, vol. 1, no. 2, pp. 203–210, Oct. 2014.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)