การลอกกาวไหมด้วยยางมะละกอ

Main Article Content

นงนุช ศศิธร
กาญจนา ลือพงษ์

Abstract

บทคัดย่อ

         การลอกกาวเป็นกระบวนการพื้นฐานสำหรับการตกแต่งเส้นด้ายและผ้าจากเส้นใยไหม มีจุดประสงค์ เพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ เช่น กาวไหม หรือ เซริซิน ไขมัน และขี้ผึ้ง ออกจากเส้นใยไหม หลักการของการ ลอกกาวไหมคือการทำลายพันธะเพปไทด์ของกรดอะมิโนที่มีอยู่ในเซริซินให้เป็นโมเลกุลเล็กๆ ที่สามารถละลายน้ำได้ กรรมวิธีการลอกกาวไหมได้แก่ การใช้สบู่ และด่าง แต่ผิวสัมผัสของเส้นใยที่ได้จะถูกทำลาย หรือแก้ปัญหาโดย ใช้เอนไซม์เปรติเอสแต่มีข้อจำกัดในด้านกระบวนการเฉพาะ และราคาสูง ในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาผลการลอก กาวไหมโดยการใช้เอนไซม์ปาเปนที่มีคุณสมบัติในการย่อยโปรตีนซึ่งมีอยู่ในยางมะละกอแห้ง การประเมิน ประสิทธิภาพ การลอกกาวไหมดูจากลักษณะปรากฏ สัณฐานวิทยาของเส้นใย การติดสีไดเร็กท์ (C.I. Direct Red 80) และทดสอบความแข็งแรงเส้นใยไหมที่ผ่านกระบวนการลอกกาวไหม พบว่าสภาวะที่ให้ประสิทธิภาพการ ลอกกาวไหมอยู่ในเกณฑ์ดี คือความเข้มข้นของยางมะละกอแห้ง 4%  owf อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส เวลา 30 นาที ในสภาวะที่เป็นกลาง (pH »7) เส้นใยไหมที่ได้มีความมีนเงา ผิวสัมผัสนุ่ม ผิวของเส้นใยไม่ถูกทำลาย และไม่มีผลกระทบต่อค่าความแข็งแรงของเส้นไหม

Abstract

         Degumming process is a fundamental process for silk yarn and silk fabric finishing. The main objective is scouring the substrate such as silk gum (sericin), wax and fatty acid from silk fiber. The principle of degumming process is breaking the peptide linkage of amino acid in sericin structure into a small molecule, which is soluble in water. The hydrolysis reaction is performed by acid and alkaline, but they have a big problem on the surface area of silk. Proteolytic enzyme is used to solve this problem but it has some disvantages such as using a specific condition and high price. For this reason, papain enzyme form dry latex of Carica papaya Linn, is choren to degum the raw silk. Papain is an enzyme, which has a good protein digestion. The efficiency of degumming process was evaluated by determination of tensile strength and staining test with direct dyes (C.I. Direct Red 80). The result revealed that the appropriate conditions for silk degumming with dry Carica papaya Linn.’s latex should be recommended as follows: the amount of dry latex solution of 4% owf at 75 °c for 30 minutes at neutral condition (pH »7). The degummed fibers had lustrous, soft and smooth surface. The fiber strength and surface were not damaged on this process.

Article Details

How to Cite
[1]
ศศิธร น. and ลือพงษ์ ก., “การลอกกาวไหมด้วยยางมะละกอ”, RMUTP Sci J, vol. 2, no. 1, pp. 69–75, Oct. 2014.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)