ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษเพื่องานนิเทศศาสตร์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยสำรวจ เพื่อ (1) เปรียบเทียบการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่องานนิเทศศาสตร์จำแนกตาม ลักษณะทั่วไปของนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และ การเรียนรู้วิชาภาษอังกฤษเพื่องานนิเทศศาสตร์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรนิเทศศาสตร์จำนวน 89 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, One-way ANOVA, LSD และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (l) ลักษณะทั่วไปของ นักศึกษาทำให้เรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่องานนิเทศศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (2) ความรู้ เกี่ยวกับภาษาอังกฤษทุกทักษะ (ฟัง พูด อ่าน เขียน) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เพื่องานนิเทศศาสตร์ และ (3) เจตคติที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษเพื่องานนิเทศศาสตร์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่องานนิเทศศาสตร์ ข้อเสนอแนะคือผู้สอนต้องพยายามปรับเปลี่ยนเจตคติ ของผู้เรียนให้รู้สึกว่าการเรียนภาษาอังกฤษไม่ยากเกินความสามารถ
Abstract
This survey research aimed to (l) compare English for Communication Arts learning by Com. Arts students’ characteristics and (2) study the relationship between the knowledge, attitude and English for Communication Arts learning. The-sampling consisted of 89 Accond Communication Arts program students, The data were obtained from a questionnaire and analyzed by using statistics, i.e. frequency, percentage, mean and standard deviation, t-test, One-way ANOVA, LSD (Least Significant Difference) and correlation. The findings are as follows: (1) the difference of students’ characteristics significantly affect English for Communication Arts learning at 0.05. (2) every knowledge skill was positively correlated with the English for Communication Arts learning. And also (3) the attitude on English for Communication Arts learning was positively correlated with the English for communication arts learning. It was recommended here that the teachers should try to change students’ attitude, that is English learning is not harder than their ability.