การสร้างหนังสือภาพนูนเรื่อง การมัดเมคราเม่ สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

Main Article Content

กติกา กระกรกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหนังสือภาพนูนเรื่อง การมัดเมคราเม่ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2 สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือภาพนูน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่สูญเสียการมองเห็นอย่างสิ้นเชิงที่เรียกว่าเด็กตาบอด (Blind) ของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4 - ป.6) ประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) วางแผนการทดลองแบบ One - Short Case Study เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยหนังสือภาพนูน แบบประเมินการสังเกตทักษะปฏิบัติการสัมผัสสื่อภาพนูน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (Percentage) และการทดสอบค่าที t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า

หนังสือภาพนูนเรื่องการมัดเมคราเม่มีประสิทธิภาพ 87.93/95.76 ส่วนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือภาพนูนพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเรียงตามลำดับได้ดังนี้ ด้านเนื้อหา ( = 4.80, S.D. = .422) รองลงมาคือด้านตัวอักษรเบรลล์ ( = 4.80, S.D. = .334) และด้านพื้นผิวของวัสดุ ( = 4.74, S.D. = .508) 

 

Abstract

            This research aims to make a Bas-Relief book about Macreame tying for Career and Technology Level 2 for visual-impaired students of the Bangkok School for the Blind with standard efficiency of 80/80 and to study users’ satisfaction of the book.  This sample in this study consisted of 10 blind students from the Bangkok School for the Blind who were purposively selected from level 2 (P.2 - P.6) in academic year 2555. This experimental research used a One - Short Case Study design.  Instruments used in this research included Bas-Relief book, observation and assessment skills to perform a visual relief, and satisfaction survey.  Statistics used for data analysis were Average ( ), Standard Deviation (S.D.), Percentage and Dependent t-test. It was found from the research that efficiency of Bas-Relief book was 87.93/95.76.  Satisfaction with Bas-Relief book was high in every aspect, ranking from the highest to the lowest as: content ( = 4.80, S.D. = .422), Braille character ( = 4.80, S.D. = .334), and material’s surface ( = 4.74, S.D. = .508).

Article Details

How to Cite
[1]
กระกรกุล ก., “การสร้างหนังสือภาพนูนเรื่อง การมัดเมคราเม่ สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น”, RMUTP Sci J, vol. 9, no. 1, pp. 38–50, Mar. 2015.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)