การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำอบไทยสูตรเข้มข้น

Main Article Content

กิตติ ยอดอ่อน

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เพื่อคัดเลือกน้ำอบไทยสูตรพื้นฐานนำไปผ่านกระบวนการทำให้เข้มข้น ประเมินผลิตภัณฑ์ทางประสาทสัมผัส ทดสอบคุณภาพตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำอบ และศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภค เป็นการศึกษาเชิงทดลอง ประชากรที่ใช้ในการศึกษามี 2 กลุ่มคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 25 คน และกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบประเมินทางประสาทสัมผัส แบบทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพบว่า น้ำอบไทยสูตรพื้นฐานสูตร 2 (จิรสา, ม.ป.ป.) เป็นสูตรที่ได้รับความพึงพอใจในทุกด้านมากกว่าสูตร 1 (โสภาพรรณ, 2536), สูตร 3  (อภิรัติ, ม.ป.ป.) ส่วนกรรมวิธีระเหยข้นมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากกว่ากรรมวิธีทำแห้งแบบผงทั้งก่อนและหลังนำผลิตภัณฑ์ไปผสมน้ำ ความพึงพอใจการละลายระหว่างน้ำกับผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ปริมาตรน้ำที่เหมาะสมทุกด้านคือ 600 มิลลิลิตรละลายกับผลิตภัณฑ์ 1 ซองปริมาณ 50 กรัม ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนในระดับดีมาก ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพข้าราชการ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์หลังผสมน้ำมีมากกว่าก่อนผสมน้ำและพึงพอใจในผลิตภัณฑ์น้ำอบไทยสูตรเข้มข้น เหตุผลหลักคือ สะดวกต่อการใช้งาน/การเก็บรักษา หากผลิตภัณฑ์วางตลาดจะซื้อ และเห็นว่าน้ำอบไทยนำไปใช้ประโยชน์ในงานมงคลและอวมงคลมากที่สุด ด้านราคาที่เหมาะสมคือ 30 บาท

Article Details

How to Cite
[1]
ยอดอ่อน ก., “การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำอบไทยสูตรเข้มข้น”, RMUTP RESEARCH JOURNAL, vol. 9, no. 1, pp. 58–70, Mar. 2015.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)