การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าไหมมัดหมี่บาติก: กรณีศึกษาลวดลายศิลปะขอมจากปราสาทศีรขรภูมิ

Main Article Content

สุดากาญจน์ แยบดี

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าไหมมัดหมี่บาติกที่มีลวดลายศิลปะขอมจากปราสาทศีขรภูมิ และศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอที่มีอายุระหว่าง 20 – 50 ปี ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพบว่า

            ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 31 – 35 ปี สถานภาพสมรส รายได้ 15,000 – 25,000 การศึกษาระดับปริญญาตรี และเคยใช้ผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอผ้าไหม ความสนใจซื้อผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมประเภทชุดทำงานมากที่สุด การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอเพื่อใช้เป็นของฝาก/ของที่ระลึก ความชอบส่วนตัวเป็นแรงจูงใจในการตัดสินใจซื้อ โดยมีประโยชน์ใช้สอยเป็นประเด็นในการเลือกผลิตภัณฑ์ ความพึงพอใจของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าไหมมัดหมี่บาติกทั้ง 3 ชนิดคือ หมอนอิง โคมไฟ ผ้าคาดเตียง พบว่ามีความพึงพอใจด้านรูปแบบและประโยชน์ใช้สอยโดยรวมในระดับมาก และด้านลวดลาย สีสัน ราคาในระดับมากเช่นกัน

            การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หมอนอิงมากที่สุด ส่วนชุดผลิตภัณฑ์หากมีจำหน่ายจะเลือกซื้อลวดลายนกยูง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อชุดผลิตภัณฑ์คือความสอดคล้องของลวดลาย

Article Details

How to Cite
[1]
แยบดี ส., “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าไหมมัดหมี่บาติก: กรณีศึกษาลวดลายศิลปะขอมจากปราสาทศีรขรภูมิ”, RMUTP RESEARCH JOURNAL, vol. 9, no. 1, pp. 71–79, Mar. 2015.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)