การผลิตแก๊สชีวภาพและประยุกต์ใช้ในกิจกรรมโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก จังหวัดตาก

Main Article Content

ยุธนา ศรีอุดม
อนุรัตน์ เทวตา
ไพโรจน์ จันทร์แก้ว

Abstract

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างและใช้งานบ่อหมักแก๊สชีวภาพให้กับครูและนักเรียน ให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างและประยุกต์ใช้งานบ่อหมักแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อนำแก๊สที่ได้ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนแก๊ส LPG สำหรับหุงต้มและประกอบอาหารในกิจกรรมโครงการอาหารกลางวัน โดยมีครูและนักเรียนเข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 330 คน จากการกระเมินผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ พบว่า ผลเกณฑ์การประเมินสูงสุดอันดับแรก คือ ด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร (ค่าเฉลี่ยรวม 4.37, SD 0.67) อันดับสอง คือ ด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ค่าเฉลี่ยรวม 4.33, SD 0.66) อันดับสาม คือ ด้านวิทยากร (ค่าเฉลี่ยรวม 4.26, SD 0.65) และอันดับสุดท้าย คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ (ค่าเฉลี่ยรวม 4.13, SD 0.72) โดยมีความพึงพอใจในด้านความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม เฉลี่ยสูงสุด คือ 4.44 และมีเกณฑ์ความพึงพอใจด้านการตอบข้อซักถามในการฝึกอบรมต่ำสุด คือ 4.16 ส่วนการประเมินผลสำเร็จของโครงการ พบว่า บ่อหมักแก๊สที่ทำการติดตั้งสามารถผลิตแก๊สชีวภาพได้ทุกบ่อและนำไปใช้ทดแทนแก๊ส LPG ได้โดยเฉลี่ย 1,400 – 1,500 บาท/เดือน มีต้นทุนในการสร้างระบบรวม 58,000 บาท และมีระยะเวลาคืนทุน 4 ปี และ เกิดโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับแก๊สชีวภาพจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1. การเปรียบเทียบการเกิดแก๊สชีวภาพระหว่างเศษอาหารกับมูลสัตว์ 2. การเปรียบเทียบมูลสุกรและมูลโคมาทำเป็นแก๊สชีวภาพ และ 3. การเปรียบเทียบศักยภาพการเกิดแก๊สระหว่างมูลสุกรแห้งกับมูลสุกรสด

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีอุดม ย., เทวตา อ., and จันทร์แก้ว ไ., “การผลิตแก๊สชีวภาพและประยุกต์ใช้ในกิจกรรมโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก จังหวัดตาก”, RMUTP RESEARCH JOURNAL, vol. 9, no. 1, pp. 91–101, Mar. 2015.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)