การหาค่าที่เหมาะสมที่สุดเพื่อใช้ปรับตั้งเครื่องปักผ้าโดยเทคนิคการออกแบบการทดลอง

Main Article Content

จักรกริช คำทีระ
อิสรา ธีระวัฒน์สกุล

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาค่าแรงดึงด้ายที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้ในการปรับตั้งเครื่องปักผ้าด้วยเครื่องปักคอมพิวเตอร์ 18 หัว(Model D-We 1218–55)เพื่อลดจำนวนครั้งที่เครื่องจักรหยุดการทำงานในแต่ละรอบของการปักซึ่งจากการวิเคราะห์สาเหตุแล้วพบว่าเกิดจากการที่ด้ายขาดทำให้เครื่องจักรหยุดการทำงาน ส่งผลให้เครื่องจักรทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างสมบูรณ์ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบการทดลองมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เหมาะสมสำหรับผ้า 5 ชนิดได้แก่ Polo, TC-Cool, Cotton, Jacket และ Shirt โดยใช้เทคนิคการออกแบบการทดลองแบบสุ่มซ้อน กรณีนำเข้า3 ปัจจัย (Nested Design)คือ ชนิดของด้าย จำนวนชั้นของการปัก ขนาดรูพรุนของผ้า มีการทดลองทั้งหมด3 ระดับคือ ระดับต่ำใช้แรงดึง 2 ออนซ์ ระดับกลางใช้แรงดึง 5 ออนซ์ ระดับสูงใช้แรงดึง 8 ออนซ์ โดยผลตอบคือ จำนวนครั้งที่เครื่องจักรหยุดในเวลา 30 นาทีโดยผลจากการวิเคราะห์ความแปรปรวน(Analysis of Variance : ANOVA) ที่ใช้สำหรับการทดลองแบบสุ่มซ้อนพบว่ามีผลต่อการหยุดการทำงานของเครื่องจักรอย่างมีนัยสำคัญ และนำผลของจำนวนครั้งที่เครื่องจักรหยุดทำงานจากการทดลองมาสร้าง Surface Plot โดยใช้เส้นแนวโน้มแบบโพลิโนเมียลและใช้สมการกำลังสองเพื่อหาค่าเหมาะสมสำหรับด้ายแต่ละชนิด การปักแต่ละชั้นและขนาดรูพรุนของผ้าแต่ละแบบแล้วนำค่าที่ได้ไปทำการทดลองซ้ำโดยปรับตั้งแรงดึงของด้ายที่ใช้ในการปักตามค่า ที่เหมาะสมที่สุดที่ได้จากการสมการ ผลปรากฏว่าจำนวนครั้งที่เครื่องจักรหยุดการทำงานลดลงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปักผ้าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 77.01 เปอร์เซ็นต์

Article Details

How to Cite
[1]
คำทีระ จ. and ธีระวัฒน์สกุล อ., “การหาค่าที่เหมาะสมที่สุดเพื่อใช้ปรับตั้งเครื่องปักผ้าโดยเทคนิคการออกแบบการทดลอง”, RMUTP Sci J, vol. 9, no. 1, pp. 102–111, Mar. 2015.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)