ประสิทธิภาพของสาหร่ายหางกระรอกในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ

Main Article Content

กิตติมา วานิชกูล
สมิง จำปาศรี
จิราพร กุลคำ
พิรุณ จันทร์เทวี
ยุพาวรรณ ประเสริฐโชค

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาประสิทธิภาพของสาหร่ายหางกระรอกในการปรับปรุงคุณภาพน้ำจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์    ซึ่งทำการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) โดยแบ่งชุดทดลองออกเป็น 4 ชุด คือ ชุดควบคุม (ไม่มีการปักชำสาหร่ายหางกระรอก) และชุดการทดลองที่มีการปักชำสาหร่ายหางกระรอกจำนวน 30  50 และ 70 ต้น  ในแต่ละชุดทดลองจะทำในอ่างซีเมนต์กลมที่รองพื้นก้นอ่างด้วยดินปนทราย มีการเติมน้ำคลองปริมาณ     50 ลิตร   มีการให้อากาศและไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำตลอดการทดลอง  โดยทำการทดลองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า ค่าอุณหภูมิ  ความเป็นกรดเป็นด่าง  ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ  ความนำไฟฟ้า  ความเป็นด่าง       ความกระด้าง  ไนไตรท์  แอมโมเนีย ฟอสฟอรัส และปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) ในทุกชุดทดลอง  แต่เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มของประสิทธิภาพในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ พบว่า ชุดการทดลองที่ปักชำสาหร่ายหางกระรอกจำนวน 50 ต้น มีแนวโน้มในการกำจัดฟอสเฟต และ ปรับปรุงปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำได้ดีที่สุด คิดเป็น 86.00 และ 45.73 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ  ส่วนชุดการทดลองที่มีการปักชำสาหร่ายหางกระรอกจำนวน 70 ต้น มีแนวโน้มในการกำจัดแอมโมเนีย และไนไตรท์ดีที่สุด     คิดเป็น 65.00 และ 66.66 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 

Abstract

The study of Hydrilla (Hydrilla verticillata) effectiveness in water treatment was investigated using completely randomized designs with 4 Hydrilla densities: 0 (control), 30, 50, and 70 plants. Each plot was experimented in round cement tanks added with sandy clay on the bottom. Fifty liters of canal water was then filled in. Along 6 weeks of the experiment, each tank was aerated with no water exchanged. Results showed that there were no significant differences in values of temperature, pH, dissolved oxygen, conductivity, alkalinity, hardness, nitrite, ammonia, phosphate and biochemical oxygen demand in every treatment (p > 0.05). However, the experimental plot with 50 hydrilla plants showed the best tendency in eradication of phosphate and improvement of biochemical oxygen demand at 86.00 and 45.73 percent, respectively. On the other hand,           the experimental plot with 70 hydrilla plants showed the best tendency in eradication of ammonia and nitrite at 65.00 and 66.66 percent, respectively.

Article Details

How to Cite
[1]
วานิชกูล ก., จำปาศรี ส., กุลคำ จ., จันทร์เทวี พ., and ประเสริฐโชค ย., “ประสิทธิภาพของสาหร่ายหางกระรอกในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ”, RMUTP Sci J, vol. 9, no. 2, pp. 11–18, Oct. 2015.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)