การพัฒนาแบบจำลองการเรียนการสอนคหกรรมศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสาน สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

Main Article Content

วไลภรณ์ สุทธา
วิกร ตัณฑวุฑโฒ

Abstract

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของแบบจำลองการเรียนการสอนคหกรรมศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสาน สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน โดยแบบจำลองพัฒนาจากการสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามในด้านองค์ประกอบของแบบจำลอง 9 องค์ประกอบ ได้แก่           1) กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน 2) ความพร้อมของผู้เรียน 3) ความพร้อมของผู้สอน 4) กำหนดแผนการสอนรายวิชา 5) ออกแบบและพัฒนาสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 6) ความพร้อมของสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน 7) ดำเนินการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสาน 8) กิจกรรมสนับสนุนการเรียนการสอน และ 9) การติดตามและประเมินผล เมื่อนำไปทดสอบประสิทธิภาพโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลัง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 1 ห้องเรียน พบว่า สามารถจัดการเรียนการสอนตามองค์ประกอบของแบบจำลองได้โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยแบบจำลองการเรียนการสอนคหกรรมศาสตร์แบบผสมผสานมีคะแนนเฉลี่ยการทดสอบและระดับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยแบบจำลองในระดับมาก

Abstract

This research aimed to develop and evaluate a blended learning model for Home Economics students at Rajamangala University of Technology to increase teaching and learning effectiveness. The model development was collected from 9 experts. Questionnaires were used to ask for their opinions on the model’s 9 components which were 1) teaching and learning objectives 2) student readiness 3) instructor readiness 4) course plan 5) e-learning courseware design and development 6) teaching and learning environmental availability 7) Blended Learning instruction procedure 8) supportive activities, and 9) monitoring and evaluation. To test for effectiveness, the experimental one-group and pre-posttest method were used. The sampled group was a class of the first-year students enrolling in Science of Cookery Course at Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. The findings suggested that the model was practical. Both the knowledge and self-directed learning post-test scores were higher than the pre-test scores. Moreover, the students were highly satisfied with the model.

Article Details

How to Cite
[1]
สุทธา ว. and ตัณฑวุฑโฒ ว., “การพัฒนาแบบจำลองการเรียนการสอนคหกรรมศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสาน สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล”, RMUTP RESEARCH JOURNAL, vol. 9, no. 2, pp. 114–128, Oct. 2015.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)