ความเป็นพิษร่วมกันของเอ็นโดซัลแฟน-ซัลเฟตและเฮปตาคลอร์ต่อการเจริญเติบโต ในระยะต้นกล้าของพืชชนิดต่าง ๆ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การประเมินความเป็นพิษร่วมกันระหว่างเอ็นโดซัลแฟน-ซัลเฟตและเฮปตาคลอร์ที่ระดับความเข้มข้น รวมของสารทั้งสองชนิดในอัตราส่วน 1:1 ตั้งแต่ 0.4-40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมนั้าหนักแห้งของดินต่อการ เจริญเติบโตในระยะต้นกล้าของพืชสี่ชนิด ได้แก่ ข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 (Oryza sativa var. glutinosa cv. RD6) ผักบุ้ง (Ipomoea aquatic) ถั่วพุ่ม (Vigna sinensis) และคะน้า (Brassica alboglabra) จากผลการศึกษา พบว่า ผักบุ้งและถั่วพุ่มเป็นพืชที่มีความทนทานต่อสารผสมระหว่างเอ็นโดซัลแฟน-ซัลเฟตและเฮปตาคลอร์มากที่สุด โดยสารผสมไม่ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การงอก ความยาวราก ความยาวยอด นํ้าหนักสดและนํ้าหนักแห้งของพืช ทั้งสอง ในขณะที่สารผสมระหว่างเอ็นโดซัลแฟน-ซัลเฟตและเฮปตาคลอร์ส่งผลให้ความยาวรากของข้าวเหนียว พันธุ กข.6 สั้นลงเท่านั้น และไม่ส่งผลต่อรูปแบบการเจริญเติบโตในลักษณะอื่น ๆ ของต้นกล้าข้าวเหนียว ส่วนคะน้า เป็นพืชที่มีความไวต่อความเป็นพิษของสารผสมมากที่สุด โดยที่ระดับความเข้มข้นรวมของเอ็นโดซัลแฟน-ซัลเฟต และเฮปตาคลอร์เพียง 0.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การงอก ความยาวยอด ดัชนีความ แข็งแรงของต้นกล้า และนํ้าหนักสดของคะน้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)
คำสำคัญ : ความเป็นพิษต่อพืช; เอ็นโดซัลแฟน-ซัลเฟต; เฮปตาคลอร์
Abstract
Combined phytotoxicity of endosulfan-sulfate and heptachlor at total concentration (ratio 1:1) ranging from 0.4-40 mg/kg dried soil on seedling growth of four crops was investigated. Oryza sativa var. glutinosa cv. RD6, Ipomoea aquatic. Vigna sinensis and Biassica alboglabia were selected as surrogate plant species. Results indicated that I. aquatic and V. sinensis were the most tolerant plants to endosulfan-sulfate and heptachlor mixtures. These organochlorine mixtures did not affect percentage of seed germination, root length, shoot length, fresh weight and dry weight of these plants.Meanwhile, endosulfan-sulfate and heptachlor mixtures reduced root length of 0. sativa var. glutinosa cv. RD6 but did not affect other growth pattern. B. alboglabra was the most sensitive plant species to endosulfan-sulfate and heptachlor mixtures. Only 0.4 mg/kg dried soil of endosulfan-sulfate and heptachlor mixtures significantly reduced percentage of seed germination, shoot length, seed vigor index and fresh weight of B. alboglabia (P<0.05).
Keywords : Phytotoxicity; Endosulfan-Sulfate; Heptachlor