ทัศนคติต่อจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

มนูญ คันธประภา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาทัศนคติทางจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติทางจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 3 ด้าน คือ ศีล 5 พรหมวิหาร 4 และ อิทธิบาท 4 ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ได้จากการใช้แบบสอบถามเก็บและรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษากลุ่มประชากร ตัวอย่างจากมหาวิทยาลัย 5 แห่ง จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติทางจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตริในเขต กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เพศหญิงมีทัศนคติทางจริยธรรมมากกว่า เพศชาย อายุ 18-20 ปี มีทัศนคติทางจริยธรรมมากกว่าอายุ 21 ปีขึ้นไป และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย ที่ศึกษาทั้ง 5 แห่งมีทัศนคติทางจริยธรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเมื่อพิจารณา ในรายละเอียด พบว่า ทัศนคติทางจริยธรรมของนักศึกษาด้านศีล 5 มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.57 รองลงมา คือ ด้านอิทธิบาท 4 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 และสุดท้าย คือ ด้านพรหมวิหาร 4 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25

คำสำคัญ : ทัศนคติ; ศีล 5; พรหมวิหาร 4; อิทธิบาท 4

 

Abstract

The purposes of this research were, firstly, to study attitude towards morality of undergraduate students in Bangkok and Perimeter, and secondly, to compare attitude towards morality of undergraduate students in Bangkok and Perimeter. The attitudes concern 3 aspects of Buddhist Moral Principles: five Precepts, four Noble Sentiments and four Paths of Accomplishment. Data were gathered from 400 undergraduate students of five universities with questionnaires. Data were collected, compiled and analyzed for percentage (%), arithmetic medium (x) and standard deviation (S.D.). It is found that overall attitude towards morality of undergraduate students in Bangkok and Perimeter had the highest level. Female had higher attitude towards morality than male. Students who are 18-21 years old had higher attitude than students who are older than 21. No significant difference was found in attitude towards morality of undergraduate students from five universities, at a level of 0.05. In details, it was found that attitude towards the five Precepts of undergraduate students had the highest level with an average mean of 4.57, followed by attitude towards the four Paths of Accomplishment with average mean of 4.43, and attitude towards the four Noble Sentiments was lowest at average mean of 4.25

Keywords : Attitude; Five Precepts; Four Noble Sentiments; Four Paths of Accomplishment

Article Details

How to Cite
[1]
คันธประภา ม., “ทัศนคติต่อจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”, RMUTP Research Journal, vol. 6, no. 2, pp. 129–137, Dec. 2012.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)