การออกแบบชุดอุปกรณ์การระบายสีเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ และช่วยฝึกสมาธิสำหรับเด็กสมาธิสั้น

Main Article Content

ยุวดี พรธาราพงศ์
อาณัฎ ศิริพิชญ์ตระกูล
มยุรี เรืองสมบัติ
มัณฑนา ทองสุพล

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาออกแบบชุดอุปกรณ์การระบายสี สำหรับเด็กสมาธิสั้น โดยการศึกษาเรื่อง ของเทคนิควิธีการ อุปกรณ์ในรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีความเหมาะสมกับเด็กสมาธิสั้น เพื่อสร้าง ส่งเสริม ให้เด็กเกิด ความสนใจ สนุกสนาน มีสมาธิในการทำกิจกรรมทางศิลปะ ผลการวิจัยที่ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ในการออกแบบชุดอุปกรณ์การระบายสีนั้นสามารถส่งเสริมพัฒนาการและช่วยฝึกสมาธิสำหรับเด็กที่มีสมาธิสั้นได้ โดยครูผู้ฝึกสอนศิลปะเด็ก ทำการออกแบบกิจกรรมศิลปะบำบัด และนำชุดอุปกรณ์ที่ทำการศึกษามาทดลองทำ กิจกรรม ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 คือ ฝึกการระบายสีบนพื้นที่ที่นูนต่ำ ผลการทดสอบในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยที่ 4.37 อยู่ในระดับดี กิจกรรมที่ 2 คือ ฝึกการระบายสิที่มีลักษณะนูนต่ำซ้อนกัน 3 ชั้น ผลการ ทดสอบมีค่าเฉลี่ย 3.92 และกิจกรรมที่ 3 ฝึกการระบายสีบนพื้นที่นูนสูง ผลการทดสอบมีค่าเฉลี่ยที่ 4.34 อยู่ใน ระดับดี จากการศึกษา รวมทั้ง 3 กิจกรรมนั้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ในระดับที่ดี โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.21 โดยกิจกรรมที่ทำการฝึกใช้ได้กับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ระดับการเรียนรู้ปานกลาง คือ มีการเรียนรู้ที่ สามารถเข้าใจ ฟังคำสั่งของครูผู้สอนได้ แต่ต้องบอกอย่างเป็นขั้นตอนช้า ๆ ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้เด็กสร้าง จินตนาการด้วยตัวเองโดยการเลือกสีตามใจชอบให้เลือกอุปกรณ์ที่จะใช้ด้วยตัวเอง ซึ่งวัสดุอุปกรณ์มีหลาย รูปแบบ หลายขนาด และจากกระดาษที่มีรูปทรงที่นูนต่ำ สูง ในระดับต่างกัน เด็กจึงเกิดการเรียนรู้พื้นผิวสัมผัส ที่แตกต่าง ทำให้การระบายสีต้องมีสมาธิในการรับรู้ระดับความสูงต่ำต่างกันของรูปทรง เด็กจึงมีความตั้งใจมีสมาธิ จดจ่ออยู่นิ่งได้เป็นเวลานานกว่าปกติ

คำสำคัญ : ชุดอุปกรณ์การระบายสี; พัฒนาการ; ฝึกสมาธิเด็กสมาธิสั้น

 

Abstract

This research is to study new technique, method and pattern of tools which suit for Cerebral Palsy Children. It is also to support student in interesting, amusement, concentration in learning an activity of art. The nding was that the art supplies can support the development and practice the concentration of Cerebral Palsy Children. The activities of art therapy were designed and took to use in class by the teachers of art. These were divided into 3 types. The rst activity is low release paint and mean is 4.37. The second is high release paint and mean is 3.93. The last one is three layer of low release paint and mean is 4.34. Also, the result of activities was high average- 4.21. The activities were use with 6 years up children who are average recognition which are able in understanding in listening. They are able to follow teachers but rather do it slowly. The teachers have to be slow and explain step by step for them. The method teaching was let students image and select colors which they like. Moreover, they can choose equipment by themselves. Since there are various kinds of equipment which are form, size of high and low release of paper, students can learn the different kinds of surface. Painting use concentration in cognition of high and low gure; therefore, students can spend more time to attend and concentrate with that than usual.

Keywords : The Painting Device; The Development; Training the Concentration; Attention Decit Disorder Children

Article Details

How to Cite
[1]
พรธาราพงศ์ ย., ศิริพิชญ์ตระกูล อ., เรืองสมบัติ ม., and ทองสุพล ม., “การออกแบบชุดอุปกรณ์การระบายสีเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ และช่วยฝึกสมาธิสำหรับเด็กสมาธิสั้น”, RMUTP Research Journal, vol. 6, no. 2, pp. 138–144, Dec. 2012.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)