การประเมินผลและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา: กรณีศึกษาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาผลการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพี่อการศึกษาและศึกษา ปัจจัยภูมิหลังของนักศึกษา (เพศ, ภูมิภาค, จำนวนพี่น้อง, การศึกษาของผู้ปกครอง, อาชีพของผู้ปกครอง, รายได้ของครอบครัว) ว่านักศึกษาที่มิภูมิหลังต่างกันมีความพึงพอใจในกองทุนเงินให้กู้ยืมเพี่อการศึกษาที่แตกต่างกันหรือไม่ โดยใช้เครื่องมือและวิธีการศึกษา คือ การศึกษาจากเอกสารควบคู่กับการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพี่อการศึกษา 1) การกำหนดเกณฑ์รายได้ ของผู้มีสิทธิกู้ยืมที่สูงเกินโป 2) การขาดกลไกในการตรวจสอบ 3) การขาดกลไกการติดตามการชำระหนี้คืนที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดความสูญเสียต่อรัฐและผู้เสียภาษี 4) การขาดกลไกในการติดตาม และประเมินผล ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพี่อการศึกษา เมื่อจำแนกตามเพศ, ภูมิภาค, จำนวนพี่น้อง, อาชีพของผู้ปกครอง, รายได้ของครอบครัว พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้น ปัจจัยด้านระดับการศึกษาของผู้ปกครองจะมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
คำสำคัญ : การประเมินผล, ความพึงพอใจ, นักศึกษากู้ยืมเงิน, กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
Abstract
The article is aimed to study of outcome on student loan and study motive background (gender, provinces, amount of siblings, parent education, parent career, family Measurement and method are studied from documents and questionnaire. The result show that student loan administration fix toohigh families income of students. 2) lack of the ckecklists in allocation. 3) lack to the payment back to student loan. 4) lack of the follow-up and evaluation The satisfaction of higher education students on student loan according to gender, provinces, amount of siblings parent career, family income is not significantly different except parent education is significantly different at 0.01.
Keywords : Evaluation, Satisfaction, Higher Education Student Loan, Student Loan