การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าเหลือใช้ด้วยเทคนิคการตัดต่อและการเย็บปะติด

Main Article Content

กัญญุมา ญาณวิโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประยุกต์เทคนิคในการตัดต่อ (Patchwork) และการเย็บปะติด(Appliqué) มาทำการเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าเหลือใช้ เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้กับตลาดการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกจะเป็นการเก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์รูปแบบผลิตภัณฑ์ และลวดลายที่เหมาะสมในการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้ไปทำการสำรวจข้อมูลอีกครั้งหนึ่งเพื่อดูผลการตอบรับผลิตภัณฑ์ที่ได้ จากผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสนใจต่อผลิตภัณฑ์จากผ้าเหลือใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเสื้อผ้า/เครื่องแต่งกายสตรี โดยใช้ลวดลายจักรราศีเป็นลวดลายหลัก จากนั้นศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ในด้านเทคนิคที่นำมาใช้มากนอกจากนี้ ยังเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความแปลกใหม่ สามารถนำมาใช้งานได้จริงอีกด้วย ประเมินมูลค่าผลิตภัณฑ์อยู่ระหว่าง 2,001-3,000 บาท จากเดิมที่มองว่าผลิตภัณฑ์จากผ้าตัดต่อเป็นสินค้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 500 บาทจากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบนี้สามารถตอบสนองความต้องการการใช้งานได้อย่างดีและสามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบเพื่อผลิตสินค้าเพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง

คำสำคัญ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์; ผ้าเหลือใช้; เทคนิคการตัดต่อ; เทคนิคการเย็บปะติด

 

Abstract

This study was an aim to apply patchwork and appliquéé technique in to remnant fabricsfor value added by developing the new products. It was a survey research by questionnairestool. The study was divided into 2 steps. The first was collected the basis data for productanalyzed and appropriate design to produce the prototype products. Then, the prototype wasdisplayed to sample group for acceptance in designs and patterns. The results found that theclothes/costume and zodiac designs were the favorite patterns. The styles, quality and creativedesign were the important for buying decisions. The representative sample satisfied theprototype products in case of technique, attractive design, and their applicable, respectively.They estimated the prototype product is over 2001-3000 bath/design although the previouswas not over 500 bath/design. That meant, these techniques were responding the relevantproducts and increased the household revenue.

Keywords : Product Development; Remnant Fabrics; Patchwork Technique; Appliqué Technique

Article Details

How to Cite
[1]
ญาณวิโรจน์ ก., “การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าเหลือใช้ด้วยเทคนิคการตัดต่อและการเย็บปะติด”, RMUTP Research Journal, vol. 6, no. 1, pp. 131–138, Dec. 2012.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)