การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรการเกษตรของชุมชนบ้านยองแหละ

Main Article Content

จุรีพร กาญจนการุณ
วาสนา วงค์ฉายา

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรชุมชนบ้านยองแหละ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาเอกลาร และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มแบบไม่เป็นทางการ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและใช้เทคนิคการเลือกต่อเนื่องแบบลูกโซ่ พื้นที่ศึกษา คือ ชุมชนบ้านยองแหละ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์เชิงสรุปแบบอุปนัย รายงานผลการศึกาแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนยองแหละทำเกษตรกรรม ปลูกข้าว เป็นหลัก มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ใช้ทางการเกษตร คือ ท่อพีวีซี ปุ๋ยเคมี รถไถ นํ้าหมักชีวภาพ ฯลฯ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ชุมชนยอมรับโดยมีการใช้ประโยชนอย่างจริงจังนั้นเกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวโดยตรง ได้แก่ ท่อพีวีซี ที่ใช้แทนไม้ไผ่เพื่อส่งนํ้าเข้านา ซื่งมีความสอดคล้องกับบริบทชุมชนทั้งสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ชุมชน และมีการใช้รถไถปรับสภาพพื้นนาแทนสัตว์ แม้ว่าไม่สอดคล้องกับบริบทชุมชน

คำสำคัญ : ชุมชน, นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร

Abstract

The aim of this research was to study the adoption of agricultural innovation and technology in Yonglae, a village community. The study was based on qualitative research including documentary study. Held data were collected by non-participant observation, informal focus group discussions and in-depth interviews with the key informants, purposive sample using snow ball technique. The study was conducted in the Yonglae community, Amphor Omkoy, Chiangmai Province. Data were analyzed and synthesized by content analysis and inductive analysis. Results of the research showed that the Yonglae village was an agricultural community cultivating rice. There were agricultural innovations and technologies; PVC-pipes, fertilizer, tractors, bio-organic fermented liquid, and etc.; in the community. The PVC-pipe and tractor directly concerned with rice cultivation, were perfectly utilized. To conform with both the socio­cultural and economic community, the PVC-pipe was used to replace a bamboo-pipe leading from a water wheel to irrigate the wet rice field. Plowing the paddy, the tractor was used to replace an animal; however; it was not in the line with these community contexts.

Keywords : Community, Agricultural Innovation and Technology

Article Details

How to Cite
[1]
กาญจนการุณ จ. and วงค์ฉายา ว., “การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรการเกษตรของชุมชนบ้านยองแหละ”, RMUTP Sci J, vol. 4, no. 1, pp. 92–101, Dec. 2012.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)