การถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การสร้างและเทคนิคการเผาถ่านจากเตาถ่าน 200 ลิตร

Main Article Content

ไพโรจน์ จันทร์แก้ว

Abstract

บทคัดย่อ

การเผาถ่านแบบดั้งเดิมของชาวชนบทส่วนใหญ่จะใช้เตาแกลบซึ่งต้องเผาไม้ขนาดใหญ่ และถ่านที่ได้ คุณภาพต่ำ การถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้าง และเทคนิคการเผาถ่านจากเตาเผาถ่าน 200 ลิตร ให้กับชาวบ้าน ตำบลท้องฟ้า อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ เตาแกลบ พร้อมมอบอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่ใช้ทำเตา จำนวน 30 คน โดยมีการดำเนินการ 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 แผนงานการเตรียมการ ช่วงที่ 2 การดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งวิทยากรแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ 5 กลุ่ม โดยทุกกลุ่มใช้กิ่งไม้ยูคาลิปตัส ในการทดลอบ และช่วงที่ 3 ติดตามผลสำเร็จของโครงการ ผลการประเมินฝึก อบรมพบว่า กลุ่มได้ถ่านมากสุด ใช้เวลาตั้งแต่เริ่มจนปิดเตา 7.33 ชั่วโมง ได้ถ่าน 0.75 กระสอบป่าน และได้ นํ้าสัมควันไม้ 2.3 ลิตร และพบว่าด้านความพึงพอใจ อยู่ในอยู่ในเกณฑ์ดีมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 4.6 ส่วนการ ติดตามผลสำเร็จของโครงการส่วนใหญ่พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ทุกคน ส่วนใหญ่ ชาวบ้านร้อยละ 58.06 มีรายได้เป็นรายได้เสริมเพิ่มขึ้น 1,001-2,000 บาทต่อเดือน

คำสำคัญ : เตาเผาถ่าน 200 ลิตร

Abstract

Traditional charcoal burning of rural people used husk kiln which had to use big piece of wood and get low quality charcoal. The objectives of this technology transfer were to provide training about 200 liters charcoal kiln invention and teach charcoal burning technique to villager in Tongfa district, amphur Bantak, Thk province. In the project, materials that were used to build the kiln were given to 30 people in the village. The project had been separated in three phases, preparing, training and project evaluation. In training phase, the villager was divided in 5 groups and all group used branches of eucalyptus that had the same sizes. The results of practical training were found that the best group got charcoal 0.75 sack and eucalyptus vinegar 2.3 liters by using 7.33 hours. After training, questionnaire was used to evaluate satisfaction of participants. The statistical analysis results showed that Mean (X) was 4.69. In the part of the success of the project, it was found that found that participant could apply the khowledge the most. 58.06% of participant increased income 1,001-2,000 baht per month.

Keywords : 200 Liters Charcoal Kiln

Article Details

How to Cite
[1]
จันทร์แก้ว ไ., “การถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การสร้างและเทคนิคการเผาถ่านจากเตาถ่าน 200 ลิตร”, RMUTP Research Journal, vol. 4, no. 1, pp. 129–140, Dec. 2012.
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)