การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

ดวงสุดา เตโชติรส

Abstract

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำเนินงานเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ ผ่านทางโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ในสาขาวิชาชีพที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ รวมทั้งกิจกรรมการบ่มเพาะวิสาหกิจ โดยในปี 2553 ได้ดำเนินงานดังกล่าว จำนวน 2 โครงการ คือ 1) โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ สาขาธุรกิจอาหารไทย และขนมไทย มีเป้าหมายผลผลิตจำนวน 40 ราย ผลการดำเนินงาน พบว่า มีผู้ผ่านการฝึกอบรมจำนวน 42 ราย ซึ่งสามารถจัดตั้งธุรกิจใหม่ 6 ราย ขยายธุรกิจเดิม 5 ราย มูลค่าการลงทุน875,000 บาท จำนวนการจ้างงาน 20 คน ความพึงพอใจต่อโครงการร้อยละ 88.96 2) กิจกรรมการบ่มเพาะวิสาหกิจ สาขาธุรกิจอาหาร สามารถให้การบ่มเพาะแก่กลุ่มเป้าหมาย 5 รายวิสาหกิจ โดยได้พัฒนาอุปกรณ์ช่วยการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพิ่มพันธมิตรร้านค้าปลีกพัฒนากระบวนการผลิต เพิ่มช่องทางการจำหน่าย และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้ารับการบ่มเพาะคิดเป็นร้อยละ4.71-90.00 ตามรายวิสาหกิจ โดยมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการบ่มเพาะร้อยละ 90.40

คำสำคัญ : การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

 

Abstract

Institute of Research and Development, Rajamangala University of Technology PhraNakhon had received support from the Department of Industrial Promotion under the Ministryof Industry to conduct a ‘New Entrepreneurs Creation’ program in specialized fields of theuniversity, including enterprise incubation activity. In 2010, the university had conducted 2projects. The first one was the New Entrepreneurs Creation project in Thai food and Thai dessertbusiness, with the intended number of 40 participants. This project resulted in 42 trainees inwhich 6 trainees had created new businesses and 5 trainees had expanded their old businesses.The project created an investment of 875,000 baht and employment of 20 people, withsatisfaction level of 88.96 percent. The second was incubation of 5 enterprise groups in the fieldof food industry. The university had helped in development of production tools, improvement ofproduct and product design, development of packaging, expansion of retail allies, development ofproduction process, and addition of distribution channels. Results showed that participants’income increased by 4.71-90.00 percent, with satisfaction level of 90.40 percent.

Keywords : New Entrepreneurs Creation, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon

Article Details

How to Cite
[1]
เตโชติรส ด., “การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร”, RMUTP Sci J, vol. 5, no. 2, pp. 1–11, Dec. 2012.
Section
บทความพิเศษ (Special Article)