แนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง

Main Article Content

สุทธิพันธุ์ พุฒิเลอพงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยการขยายตัวของที่อยู่อาศัยในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางบัวทอง ตลอดจนศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงต่อที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษาวิธีการศึกษาประกอบด้วยการสำรวจพื้นที่ และการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจำนวน 399 ชุด โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างจะเป็นผู้ที่พักอาศัยในนนทบุรี และมีแหล่งงานอยู่ในกรุงเทพฯ เหตุผลการย้ายถิ่นฐานเพราะนนทบุรีอยู่ใกล้กรุงเทพฯ ผลที่ตามมาทำให้ที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น การประมวลผลโดยโปรแกรมSPSS ในการแจกแจงความถี่แบบร้อยละ และใช้ Crosstab เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูล ส่วนการหาศักยภาพของพื้นที่ศึกษาเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยใช้เทคนิค Potential Surface Analysis (PSA) ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเกิดโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะส่งผลให้การคมนาคมสะดวกขึ้นเป็นแรงจูงใจให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้หันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงจึงเป็นปัจจัยที่เพิ่มศักยภาพการพัฒนาให้พื้นที่และดึงดูดคนให้เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น การพัฒนาที่อยู่อาศัยก็จะมากขึ้น เนื่องจากการเดินทางที่สะดวกขึ้น

คำสำคัญ : โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง; ที่อยู่อาศัย; การใช้ประโยชน์ที่ดิน

 

Abstract

This study explores the factors which influence the expansion of Amphur Muang,Bang Yai and Bang Buathong residential areas in Nonthaburi province, investigates the effects ofthe Purple-line rail transit on the residential areas, and suggests guidelines for residential landuse. The data collection was conducted using area surveys and 399 questionnaire responses. 399respondents were selected with the purposive sampling method, based on their residency inNonthaburi and jobs in Bangkok. As for reason for migration, Nonthaburi is near Bangkok, as aresult, the residential areas increase. The data analyses used the SPSS program to showfrequency distribution and percentage frequency; the Crosstab to investigate the relationship ofthe variables; and the Potential Surface Analysis (PSA) technique to indicate the potential areafor residential development. The Purple-line rail transit thus adds more convenience fortransportation around this station. Therefore, the Purple-line rail transit project will increases thevalue of land and will attract more residents. The residential development will be more becauseof travel convenience.

Keywords : The Purple-Line Rail Transit; Residence; Land Use

Article Details

How to Cite
[1]
พุฒิเลอพงศ์ ส., “แนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง”, RMUTP RESEARCH JOURNAL, vol. 5, no. 2, pp. 52–64, Dec. 2012.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)