ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการขยะมูลฝอย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาเพื่อพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่สำหรับจัดการขยะมูลฝอย โดยใช้หลักการให้ค่าน้ำหนักความสำคัญกับปัจจัย และการให้ค่าความเหมาะสมกับระดับย่อยของปัจจัยจากผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม 3 ท่าน แล้วทำการพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลขยะมูลฝอย ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดการขยะมูลฝอย จากนั้นนำค่าดังกล่าวและเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการคัดเลือกพื้นที่สำหรับจัดการขยะมูลฝอย แล้วนำระบบที่พัฒนาขึ้นทั้ง 2 ส่วนไปทดสอบความสามารถในการใช้งานได้กับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของ อบต.บ้านเกาะ อบต.สุรนารี และอบต.มะเกลือเก่า ผลที่ได้จากการพัฒนาเกณฑ์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านธรณีวิทยา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการคมนาคม และด้านความหนาแน่น ผลจากการทดสอบความสามารถในการใช้งานได้ของระบบการจัดการฐานข้อมูลขยะมูลฝอย พบว่า มีค่าเฉลี่ย 4.21 แสดงให้เห็นว่าระบบมีความสามารถในการใช้งานได้อยู่ในระดับมากที่สุด และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการคัดเลือกพื้นที่สำหรับจัดการขยะมูลฝอยมีค่าเฉลี่ย 4.19 แสดงให้เห็นว่าระบบมีความสามารถในการใช้งานได้อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์; ระบบการจัดการฐานข้อมูล; ขยะมูลฝอย
Abstract
This research aimed was to develop the criteria for selecting areas for solid wastemanagement in terms of importance of factors and the fitness with the minor levels of factorsby 3 environmental experts. Result of database management system was suitable areas for solidwaste management. The developed criteria and the result of the suitable areas for solid wastemanagement was transferred to Geographic Information System (GIS) in order to select areas forsolid waste management. The developed system was then tested by the public health andenvironment officials in 3 local administration offices, consisting of Ban Koh, Suranaree, andMaklue Kao local administration offices. The criteria retrieved from this investigation comprises5 factors in terms of following aspects; geology, economy, sociology, transportation and density.According to the results of the usability of the database management system was 4.21 andgeographic information system was 4.18, it was seen that the users could use the system insolid waste management in a suitable manner.
Keywords : Geographic Information System; Database Management System; Solid Waste