การทำผลงานทางวิชาการเพื่อตำรงตำแหน่งวิชาการของอาจารย์คณะศิลปศาสตร์

Main Article Content

ทรงสิริ วิชิรานนท์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตผลงานทางวิชาการ ศึกษาความรู้ความเข้าใจ ใน การทำผลงานวิชาการ เหตุผลที่ผลิตผลงานทางวิชาการ ปัญหาอุปสรรคในการผลิตผลงานทางวิชาการและ ความต้องการการสนับสนุนการผลิตผลงานทางวิชาการของคณาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนครจำนวน 73 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (SPSS) สถิติที่'ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับผลงานวิชาการและหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการระดับปานกลาง เหตุผลที่อาจารย์ต้องการทำผลงานทางวิชาการสูงสุด คือ ตอบสนองความต้องการค้นคว้าของตนเอง และเหตุผล ที่ไม่ต้องการทำผลงานวิชาการสูงสุด คือ ไม่มีแรงจูงใจที่ดีพอ ปัญหาและอุปสรรคในการทำผลงานทางวิชาการ มากที่สุดคือ ต้องทำงานอื่นนอกเหนือการสอน สำหรับความต้องการให้สนับสนุนการทำผลงานทางวิชาการ มากที่สุด คือ ช่องทางในการให้ข้อมูลการผลิตผลงานวิชาการควรมีหลายช่องทาง การทดลอบด้วยค่าที พบว่า เพศชายและเพศหญิงมีปัญหาและอุปสรรคในการทำผลงานทางวิชาการต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

คำสำคัญ : ผลงานวิชาการ; ตำแหน่งวิชาการ

 

Abstract

This research aimed to study the conditions of academic work productivity; to study and understand rules and regulations so as to achieve academic position as well as the opinions on the academic work productivity and the need to support the academic work productivity of 73 of the lecturers of the Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. Data analysis was done by SPSS. This study Data statistics were percentage, mean and standard deviation in terms of knowledge and understanding of rules and regulations in achieving academic position, the lecturers of Faculty of Liberal Arts understood the rules and regulations at the medium level The reason why they did not want to make an academic work was the lack of motivation. The obstacle in making the academic work mostly was because they were engaged in other works. As for the need to be supported in making the academic work, the lecturers required the faculty to provide them with various means of communications. T-test result showed that different obstacles significantly differ between different sex at .05 level.

Keywords : Academic Work Productivity; Academic Position

Article Details

How to Cite
[1]
วิชิรานนท์ ท., “การทำผลงานทางวิชาการเพื่อตำรงตำแหน่งวิชาการของอาจารย์คณะศิลปศาสตร์”, RMUTP Research Journal, vol. 3, no. 2, pp. 167–179, Dec. 2012.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)