การพัฒนาแบบจำลองสำหรับคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าบริเวณลุ่มน้ำมูล
Main Article Content
Abstract
บทความนี้นำเสนอการใช้การสำรวจระยะไกลด้วยดัชนีผลต่างพืชพรรณจากดาวเทียม NOAA ค่าการจัดกลุ่มจาก k-mean อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน จำนวนวันที่ฝนตก และปริมาณน้ำท่า เพื่อสร้างโมเดลคาดการณ์ค่าปริมาณน้ำท่ารายเดือนด้วยโครงข่ายประสาทเทียม ประเมินประสิทธิภาพโดยใช้ค่า R2 และ RMSE เปรียบเทียบประสิทธิภาพด้วยสมการถดถอย ผลการทดลองสรุปว่าเมื่อเพิ่มค่าการจัดกลุ่มร่วมกับพารามิเตอร์อื่น ๆ สร้างโมเดลสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการคาดการณ์ได้ เมื่อใช้ค่าดัชนีผลต่างพืชพรรณร่วมกับอุณหภูมิ ที่เวลาย้อนหลัง 1 และ 2 เดือน และค่าการจัดกลุ่ม ที่เวลาย้อนหลัง 1 เดือน สร้างโมเดลให้ประสิทธิภาพดีที่สุด RMSE=0.09 และ R2=0.743 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกล และค่าการจัดกลุ่ม สามารถใช้ในการคาดการณ์ค่าปริมาณน้ำท่าได้
Article Details
How to Cite
[1]
จันทร์กลั่น ร., ไชยขันธุ์ เ., เกิดประสพ ก., and เกิดประสพ น., “การพัฒนาแบบจำลองสำหรับคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าบริเวณลุ่มน้ำมูล”, RMUTP Sci J, vol. 11, no. 2, pp. 37–47, Dec. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)
ลิขสิทธ์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร