การเตรียมกระดาษคราฟท์จากผักตบชวา ใบสับปะรด และกาบกล้วย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ของผักตบชวาสำหรับเป็นองค์ประกอบหลักในการผลิตกระดาษร่วมกับวัตถุดิบที่เหลือใช้ทางการเกษตรเช่นใบสับปะรด และกาบกล้วย ในการเตรียมเยื่อกระดาษใช้โซเดียม ไฮดรอกไซด์เข้มข้น 5 กรัมต่อลิตร อุณหภูมิ 90-95องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง ฟอกเยื่อด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เข้มข้น 5 กรัมต่อลิตร อุณหภูมิ 90-95 องศาเซลเซียส เวลา 30 นาที และเพิ่มคุณสมบัติด้านการกระจายเยื่อด้วย อะครามีน 3187 เข้มข้น 5 กรัมต่อลิตร ก่อนนำไปขึ้นรูปกระดาษและทดสอบความแข็งแรงของกระดาษที่ได้เทียบกับประเภทของกระดาษคราฟท์ จากการศึกษาพบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำกระดาษคือใช้เยื่อก้านผักตบชวา ร้อยละ 70 เยื่อใบสับปะรดร้อยละ 10 และเยื่อกาบกล้วย ร้อยละ 20 ได้กระดาษที่มีความต้านทานแรงดันทะลุ 31.10 กิโลนิวตันต่อตารางเมตร ความคงทนต่อแรงฉีกขาด 309.17 มิลลินิวตัน และความหนา 0.49 มิลลิเมตร กระดาษที่ได้มีน้ำหนักมาตรฐาน 183±5 กรัมต่อตารางเมตร เทียบเท่ากระดาษคราฟท์ประเภท KI กระดาษที่ได้นี้เหมาะสำหรับนำไปใช้งานเป็นกล่องสินค้าเพื่องานบรรจุภัณฑ์และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
Abstract
This research had a main purpose for studying the utilization of water hyacinth as the key component of paper production mixed with the agricultural waste as pineapple leaves and leaf sheath of banana tree. The paper pulps were prepared from 5 g/l NaOH at 90-95oC for 3 hours, then bleaching with 5 g/l Hydrogen peroxide at 90-95oC for 30 minutes. The whole pulps were detached improvement with 5g/l Acramine 3187 before paper establishment production. Finally, the strength of obtaining papers was consideration and competition to any craft paper type. As the results, the appropriate ratio of paper was 70% water hyacinth (stem), 10% pineapple leaves, and 20% leaf sheath of banana tree. It had 31.19 kN/m2 for bursting strength, tearing strength as 309.17 mN, and 0.49 mm thickness. The basis weight was 183±5 g/m2. The achieved paper was equivalent as KI craft paper. It was presented for packaging boxes and other procedures.