การจัดการระบบละลายน้ำแข็งในเครื่องทำความเย็นเพื่อการประหยัดพลังงาน

Main Article Content

นัฐโชติ รักไทยเจริญชีพ
มนัส บุญเทียรทอง
ธีรพงศ์ มีเอี่ยม

Abstract

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้นำเสนอการจัดการช่วงระยะเวลาการละลายน้ำแข็งที่แผงเครื่องระเหยของตู้แช่เย็น โดยใช้ผลต่างของอุณหภูมิที่เครื่องระเหยและพื้นที่แช่เย็น ควบคุมการทำละลายน้ำแข็งที่แผงเครื่องระเหยตามภาระและสั่งการทำงานของมอเตอร์พัดลมให้สัมพันธ์กับช่วงเวลาในการละลายน้ำแข็ง  โดยเปรียบเทียบจากระบบควบคุมของตู้แช่เย็นทั่วไปที่กำหนดรอบในการละลายน้ำแข็งด้วยการตั้งเวลาคงที่ซึ่งอ้างอิงจากฤดูที่มีความชื้นสูงสุด เพื่อให้เครื่องทำงานได้โดยไม่เกิดปัญหาน้ำแข็งหนาแน่นจนไม่สามารถแลกเปลี่ยนอุณหภูมิได้ตามปกติ จึงทำให้เกิดช่วงเวลาการละลายน้ำแข็งที่เกินความจำเป็นในฤดูที่มีความชื้นต่ำและช่วงเวลาดังกล่าวนี้เป็นการใช้พลังงานที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อระบบการทำความเย็น บทความวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบควบคุมช่วงการละลายน้ำแข็ง โดยผลทดสอบพบว่าการควบคุมการละลายน้ำแข็งที่เครื่องระเหยตามภาระ ทำให้ตู้แช่เย็นใช้พลังงานโดยรวมน้อยลงร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับระบบควบคุมการละลายน้ำแข็งแบบตั้งเวลาคงที่

 

Abstract

            This paper presents about the defrosting time of evaporator in refrigerator by using the temperature different between evaporator and chilling area. This  temperature  different concept  could control the defrosting system to operate  according  to  the load. It also helps  controlling  the  operation  of  fan  motor  to  be  able  to  operate  in  accordance  with  the  defrosting  time. In general system, the timer is set at the highest  humidity  season  which  cause the  unneccessary  defrosting cycle even in  low humidity season. This  general  system  create  the  west  of  power  usage  colling  system. These can cause time-consuming in defrosting process in the low humidity season and cause the unnecessary usage of power to cooling system. This research is to develop the controller for the defrosting system at evaporator from the investigation. As  the  results, we  have found that the  defrosting system at  evaporator according to  its  load  made  the refrigerator can decrease the power about 8% when comparing to constant time evaporator system.

Article Details

How to Cite
[1]
รักไทยเจริญชีพ น., บุญเทียรทอง ม., and มีเอี่ยม ธ., “การจัดการระบบละลายน้ำแข็งในเครื่องทำความเย็นเพื่อการประหยัดพลังงาน”, RMUTP Sci J, vol. 11, no. 1, pp. 56–64, May 2017.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)