การย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้อากาศของสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารเข้มข้นในกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพ

Main Article Content

พัชรี อินธนู
จิตติยา แทนคำ

Abstract

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการย่อยสลายสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารเข้มข้นที่ผ่าน และไม่ผ่านการบด ด้วยเชื้อจุลินทรีย์ผสมในกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ ภายใต้อุณหภูมิมีโซฟิลิก (37 องศาเซลเซียส) โดยไม่มีการควบคุมความเป็นกรดด่าง (pH) และมีการควบคุมค่าความเป็นกรดด่างของเศษอาหารเข้มข้นที่ 6.20 และ 7.00 จากการศึกษาพบว่าเชื้อจุลินทรีย์ผสมที่มีความเข้มข้นเริ่มต้น 2,100 มิลลิกรัมต่อลิตรสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารเข้มข้นที่ผ่านการบดอย่างมีประสิทธิภาพกว่าการย่อยเศษอาหารเข้มข้นที่ไม่ผ่านการบด เนื่องจากเมื่อทำการบดเศษอาหารจะทำให้พื้นที่ผิวเพิ่มขึ้น 1.37 เท่า และสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ คือ สภาวะที่มีความเป็นกรดด่างที่ 7.00 ซึ่งแสดงให้เห็นในรูปของประสิทธิภาพการย่อยสลายสารอินทรีย์  (% COD removal) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.81 และสอดคล้องกับอัตราการเกิดแก๊สมีเทนที่สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 19.10

 

Abstract

      The purposes of this research were to investigate anaerobic digestion of concentrated food waste in biogas production system at mesophilic temperature (37 °C). The effect of grinding and pH controlled at 6.20 and 7.00 on methane production were also studied. It was found that the ability of mix bacteria, which had initial concentration of 2,100 mg/l, for digesting concentrated food waste with grinding was higher than that without grinding because of the increase in surface area (about 1.37 time). In this system, the optimum condition for bacteria growth was found at pH 7.00. Under optimal condition, the digestion efficiency in term of chemical oxygen demand (COD) removal was 18.81% higher corresponding to an increase in methane production rate (19.10%) than other conditions.

Article Details

How to Cite
[1]
อินธนู พ. and แทนคำ จ., “การย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้อากาศของสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารเข้มข้นในกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพ”, RMUTP Sci J, vol. 11, no. 1, pp. 92–101, May 2017.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)