การเพิ่มผลผลิตโดยการปรับปรุงการทำงานด้วยการเคลื่อนไหว พื้นฐานของมือ กรณีศึกษา สายการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

กิตติชัย อธิกุลรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตในสายการประกอบชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ โดยใช้การศึกษาการทำงานเพื่อหาสถานีงานที่มีเวลาการปฏิบัติงานมากกว่าเวลาที่ลูกค้าต้องการ พร้อมกับวิเคราะห์ปัญหาด้วย 5W1H จากสภาพการทำงานปัจจุบันพร้อมกับนำการเคลื่อนไหวพื้นฐานของมือสำหรับปรับปรุงการทำงาน จากการศึกษาพบว่าสายการประกอบ ประกอบด้วย 15 สถานีงาน พบว่ามีรอบเวลาการผลิต 12.0 วินาที เกินกว่ารอบเวลาการผลิต   ที่ลูกค้าต้องการซึ่งเท่ากับ 10.5 วินาที ในสายการประกอบพบว่าสถานีงานที่ 6 มีเวลาในการผลิต มากกว่าเวลาที่ลูกค้าต้องการ ผู้วิจัยได้ดำเนินการปรับปรุงการเคลื่อนไหวพื้นฐานของมือในสถานีงานที่ 6 โดยการแยกงานหรือตัดการเคลื่อนไหวพื้นฐานของสองมือที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของสถานีงานนั้น โดยนำไปรวมกับงานหรือการเคลื่อนไหวพื้นฐานของสองมือของสถานีงานก่อนหน้าหรือหลัง ผลการปรับปรุงทำให้รอบเวลาการผลิตใหม่เป็น 10.0 วินาที กำลังการผลิตของสายการประกอบเพิ่มขึ้นจาก 300 ชิ้นต่อชั่วโมง เป็น 360 ชิ้นต่อชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

 

Abstract

            The purpose of this research is to study productivity improvement at electronicparts’s assembly line, finding the work stations with work station time longer than takt time.  This research applied the 5W1H technique as a tool to problem analysis, fundamental of hand motions to improve productivity. The study found that the assembly line consisted 15 work stations and  a cycle time of  12.0 seconds which greater than the takt time, which was 10.5 seconds. The work station time no.6 took longer than the takt time. The fundamental of hand motion technique   was applied. By separating or eliminating, the fundamental of hand motion did not affect  the performance of the work stations. By being integrated the fundamental of hand motion with previous work station or next work station. As a result of research is the new cycle time of this production line is 10.0 seconds, the production line capacity increased from 300 pieces per hour to 360 pieces per hour , 20 percent increase

Article Details

How to Cite
[1]
อธิกุลรัตน์ ก., “การเพิ่มผลผลิตโดยการปรับปรุงการทำงานด้วยการเคลื่อนไหว พื้นฐานของมือ กรณีศึกษา สายการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์”, RMUTP RESEARCH JOURNAL, vol. 11, no. 1, pp. 165–176, May 2017.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)