ความเป็นพิษร่วมกันระหว่างพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนกับ ไทรทรอนเอ็กซ์-100 หรือทวีน 80 ต่อการเจริญเติบโตระยะต้นกล้าของบานเย็นและกระเจี๊ยบเขียว

Main Article Content

ขนิษฐา สมตระกูล
วราภรณ์ ฉุยฉาย

Abstract

การใช้สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนหรือพีเอเอชด้วยพืช แต่เนื่องจากสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์เป็นพิษต่อพืชเช่นกัน ดังนั้นการเลือกใช้ในระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมและใช้กับพืชที่สามารถทนทานต่อความเป็นพิษร่วมกันของพีเอเอชและสารลดแรงตึงผิวนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น ในการศึกษานี้ได้ศึกษาความเป็นพิษของแอนทราซีนและฟลูออรีนที่ปนเปื้อนร่วมกันในดินที่ความเข้มข้นรวมเป็น 0, 200, และ 800 มก./กก. ร่วมกับการใช้สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ 2 ชนิด คือ ไทรทรอนเอ็กซ์-100 และทวีน 80 ที่ความเข้มข้น 0, 1 และ 10 เท่าของค่าความเข้มข้นวิกฤตที่จะเริ่มเกิดไมเซลล์ต่อการเจริญเติบโตระยะต้นกล้าของกระเจี๊ยบเขียวและบานเย็น โดยรดสารลดแรงตึงผิวในวันที่ 13 หลังเพาะเมล็ด และวัดการเจริญเติบโตของพืชในวันที่ 20 หลังเพาะ ผลปรากฏว่า ทั้งบานเย็นและกระเจี๊ยบเขียวสามารถเจริญเติบโตในดินที่ปนเปื้อนแอนทราซีนและฟลูออแรนทีนทุกความเข้มข้นร่วมกับการได้รับสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ทั้งสองชนิดได้ โดยทวีน 80 ที่ความเข้มข้น 1 เท่าของค่าความเข้มข้นวิกฤตที่จะเริ่มเกิดไมเซลล์เป็นพิษต่อกระเจี๊ยบเขียวน้อยที่สุด ในขณะที่สารลดแรงตึงผิวทุกชนิดเป็นพิษต่อบานเย็นไม่แตกต่างกัน การเจริญเติบโตของพืชที่ลดลงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของพีเอเอชในดินที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นพืชทั้งสองชนิดนี้จึงมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ปลูกเพื่อฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนพีเอเอชความเข้มข้นในระดับ 200 มก./กก. ร่วมกับการใช้สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ได้

Article Details

How to Cite
[1]
สมตระกูล ข. and ฉุยฉาย ว., “ความเป็นพิษร่วมกันระหว่างพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนกับ ไทรทรอนเอ็กซ์-100 หรือทวีน 80 ต่อการเจริญเติบโตระยะต้นกล้าของบานเย็นและกระเจี๊ยบเขียว”, RMUTP Sci J, vol. 11, no. 2, pp. 112–128, Dec. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)