จริยธรรมในการตีพิมพ์: วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับสิ่งจำเป็นต่อไปนี้

     - การลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่น ตลอดจนการลอกเลียนแบบตนเอง
     - ต้นฉบับหรือบทความที่มีการปลอมแปลงข้อมูล
     - ต้นฉบับหรือบทความที่มีการบิดเบือนการอ้างอิง
     - บทความที่เคยตีพิมพ์ที่ที่อื่น

มาตรฐานการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารอยู่ภายใต้หลักธรรมมาภิบาล ความโปร่งใส และยุติธรรม เพื่อรักษาคุณภาพของวารสารตามหลักสากล จึงได้กำหนดจริยธรรม และความรับผิดชอบของผู้เขียน บรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ไว้ดังต่อไปนี้

 

ผู้เขียน

     1. ผู้เขียนต้องมีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณในการดำเนินงานวิจัย
     2. ผู้เขียนต้องไม่ยื่นบทความในวารสารอื่นในเวลาเดียวกัน
     3. ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้เขียนอื่น และไม่คัดลอกผลงานตัวเอง
     4. ผู้เขียนต้องอ้างอิงข้อมูลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
     5. ผู้เขียนต้องนำเสนอผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยอย่างตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนข้อมูล และไม่สร้างหลักฐานเท็จเพื่อรองรับผลลัพธ์ของตนเอง
     6. ผู้เขียนต้องไม่ใส่บุคลที่ไม่มีส่วนร่วมในการวิจัยในบทความ

 

บรรณาธิการ

     1. บรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณา ตรวจสอบ และคัดเลือกบทความเบื้องต้น โดยบทความต้องมีความเหมาะสม เข้มข้น
และสอดคล้องกับกรอบของวารสาร
     2. บรรณาธิการมีหน้าที่ดำเนินการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร รวมไปถึงและปรับปรุงหรือพัฒนาวารสารให้มีมาตรฐาน
     3. บรรณาธิการ มีหน้าที่ตรวจสอบการคัดลอกผลงานก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ
     4. บรรณาธิการ มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาก่อนการตีพิมพ์
     5. บรรณาธิการต้องไม่มีอคติต่อผู้เขียนหรือต่อหน่วยงานของผู้เขียน
     6. บรรณาธิการต้องเลือกผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความนั้น ๆ
     7. บรรณาธิการต้องเก็บรักษาความลับเกี่ยวกับผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ไม่ให้ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน
     8. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความลงในวารสารของตนเองโดยไม่มีข้อยกเว้น
     9. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและไม่มีการเรียกรับผลประโยชน์ในรูปแบบใด ๆ ทั้งสิ้น

 

ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

     1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องประเมินเฉพาะบทความที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ
     2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องพิจารณาบทความให้แล้วเสร็จในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
     3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องพิจารณาบทความโดยปราศจากอคติ และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวนอกเหนือจากหลักพื้นฐานทางวิชาการ
     4. ผู้ทรงคุณวุฒิควรให้ความคิดเห็นและคำแนะนำอย่างมืออาชีพและมีประโยชน์ต่อผู้เขียน
     5. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องเก็บรักษาความลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความให้กับแก่บุคคลอื่น