การประเมินชั้นดินและค่ากำลังรับแรงแบกทานที่ยอมให้ด้วยการทดสอบการเจาะสำรวจแบบหยั่งเบา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประยุกต์ใช้การเจาะสำรวจแบบหยั่งเบา (Kunzelstab Penetration Test or Light Penetrometer, KPT) มาใช้ในการทดสอบเพื่อใช้ในการหาแรงต้านทานกระตอกหยั่ง ศึกษาลักษณะการวางตัวของชั้นดิน ตลอดจนหาค่าคุณสมบัติความแข็งแรง และการรับกำลังแบกทานของดินฐานราก โดยใช้พื้นที่ทำการศึกษาที่จังหวัดเชียงราย เพื่อตรวจสอบลาดดินถมรองรับอาคารที่เกิดการเคลื่อนตัว การศึกษาได้นำค่าจำนวนครั้งการตอกหยั่ง NKPT ใช้ประเมินความหนาชั้นดิน และใช้ค่าปรับแก้ N¢KPT วิเคราะห์หาค่ากำลังของดินฐานราก และแรงแบกทานที่ยอมให้จากทฤษฏีเชิงประสบการณ์ การทดสอบ KPT ด้วยหลุมทดสอบ 13 หลุม ระยะห่าง 4.00 เมตร ในจุดวิกฤตที่พบการเคลื่อนตัว พบว่า ชั้นดินรองรับที่ความลึก 1.00-5.00 เมตร มีค่าแรงแบกทานที่ยอมให้เท่ากับ 1.53 ตันต่อตารางเมตร ที่ความลึก 5.00-6.60 เมตร มีค่าแรงแบกทานที่ยอมให้เท่ากับ 17.06 ตันต่อตารางเมตร โดยผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้ในการแยกความหนาชั้นดิน ประเมินความแข็งแรงกำลังรับแรงแบกทานของฐานราก การตรวจสอบเสถียรภาพของลาดดิน อีกทั้งการทดสอบด้วย KPT แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา เมื่อเทียบกับการสำรวจในสนามแบบอื่นๆ
Article Details
References
[2] A. Sakmanee, K. Chantawarangul, “Soil Exploration by Dynamic Light Penetrometer”, in Proceedings of 41st Kasetsart University Annual Conference, Bangkok, Thailand, 2003, pp 490-497.
[3] C. Karerat, “Bearing Capacity Investigation of Silty Sandy Soil Layer Using Kunzelstab Test”, Journal of Applied Engineering Sciences, Vol. 16(19), pp.57-61. 2016.
[4] W. Kongkitkul, S. Srisakorn, T. Chantachot, S. Youwai, P. Jongpradist, and C. Bunjongruksa, “Evaluation of Guy Anchorage Strength in Clay for Transmission Tower,” Journal of Testing and Evaluation, Vol. 41, No. 4, pp. 564–570. 2
[5] G.G. Meyerhof, 1956. “Penetration tests and bearing capacity of cohesionless soils,” Journal of the Soil Mechanics and Foundations Division, ASCE," Vol. 82(1): pp.1–19.