วิธีการหาคำตอบสำหรับปัญหาการจัดเส้นทางรถเก็บขยะมูลฝอย กรณีศึกษา เทศบาลตำบลอุบล จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

คลอเคลีย วจนะวิชากร
กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถเก็บขยะของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลอุบล จังหวัดอุบลราชธานี โดยจัดเส้นทางการเดินรถใหม่เพื่อให้ระยะทางรวมน้อยที่สุด ส่งผลต่อการลดต้นทุนและรอบเวลาการทำงานการเดินรถเก็บขยะ ทั้งนี้เทศบาลตำบลอุบล รับผิดชอบพื้นที่ 3.5 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ตำบล 7 ชุมชน ใช้รถบรรทุกขยะมูลฝอยชนิดอัดท้าย มีการเดินรถ 4 เส้นทาง จำนวนรถ 4 คัน ขนาด 1,200 กิโลกรัม และ 600 กิโลกรัม มีจุดบริการเก็บขยะทั้งสิ้น 45 จุด ระยะทางรวม 123 กิโลเมตร จากการศึกษาคณะผู้วิจัยได้จัดกลุ่มจุดเก็บขยะใหม่เหลือเพียง 27 จุด ระยะทางรวม 73 กิโลเมตร โดยใช้ฟังก์ชันวิธีเชิงวิวัฒนาการ(Evolutionary Method) และวิธีแบบประหยัด(Saving Algorithm) โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ กรณีการเดินรถ 1 เส้นทาง และกรณีการเดินรถ 2  เส้นทาง ผลลัพธ์จากการศึกษา พบว่า วิธีเชิงวิวัฒนาการ ให้ระยะทางการเดินรถสั้นที่สุด โดยกรณีเดินรถ 1 เส้นทาง วิธีเชิงวิวัฒนาการ ให้ระยะทางรวมเท่ากับ 23.70 กิโลเมตร เมื่อระยะทางเดินรถก่อนปรับปรุงคือ 73กิโลเมตร ลดลงจากเดิม 49.3 กิโลเมตร คิดเป็น 67.53% และกรณีเดินรถ 2 เส้นทาง วิธีเชิงวิวัฒนาการ ให้ระยะทางเดินรถทั้งสิ้น 33 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดินรถก่อนปรับปรุงคือ 73 กิโลเมตร ระยะทางเดินรถลดลงจากเดิม 40 กิโลเมตร คิดเป็น 54.79% และพบว่าการจัดเส้นทางเดินรถ 1 เส้นทางได้ระยะทางสั้นกว่าการจัดเส้นทางเดินรถ 2 เส้นทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

[1] ณัฐณิชา รุ่งโรจน์ชัชวาล, อินทุอร ศรีสว่าง, วนัฐฌพงษ์ คงแก้ว. การประยุกต์ใช้ปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถ สำหรับการเก็บขนขยะมูลฝอย กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสารไทยการวิจัยด าเนินงาน. 2559; 4(2): 18–31.
[2] ศุภพัชร พวงแก้ว. วิธีเชิงพันธุกรรมสำหรับปัญหาการจัด เส้นทางเดินรถเก็บขยะตามครัวเรือนโดยใช้คนงานในการ จัดเก็บ. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ. 2553.
[3] สุภกิณห์ สมศรี. การหาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ด้วยเทคโนโลยีระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี. 2545.
[4] สมบัติ สินธุเชาวน์. การจัดเส้นทางของการเก็บขยะใน เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี. 2557.
[5] ดิเรกฤทธิ์ ทวะกาญจน์. การพัฒนารูปแบบการจัดการ ขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสำหรับเทศบาลนครหาดใหญ่, สารนิพนธ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, สงขลา. 2553.
[6] Sibel A, Bahar YK. A New Model for the Hazardous Waste Location-Routing Problem. Computers and Operations Research. 2007; 34 (5): 1406–1423.
[7] Nanthavanij S, Boonprasurt P, Jaruphongsa W, Ammarapala V. Vehicle Routing Problem with Manual Material Handling: Flexible Delivery Crew–Vehicle Assignment. In: Proceedings of the 9th Asia Pacific Industrial Engineering and Management Systems Conference. Bali; 2008. p. 2905–2911.