การออกแบบเครื่องมือที่เหมาะสมในการผลิตประตูและหน้าต่างด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ

Main Article Content

สุทธิดา การะเวก
ศรินยา ประทีปชนะชัย
อมรรัตน์ พรประเสริฐ
ยุทธณรงค์ จงจันทร์
ภีม พรประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตประตูและหน้าต่าง การวิจัยเริ่มต้นจากการสำรวจสภาพปัจจุบัน จากนั้นได้นำหลักการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ มาพิจารณาลักษณะการเกิดข้อบกพร่องและนำข้อมูลที่ได้ไปเขียนแผนภาพพาเรโตเพื่อจัดลำดับความสำคัญ พบปัญหาในกระบวนการประกอบ จากชิ้นงานอบเฉลี่ย 97 ชิ้นต่อวัน และชิ้นงานตัดเฉลี่ย 120 ชิ้นต่อวัน มูลค่าความสูญเสีย 2,500 บาทต่อวัน  เป็นปัญหาที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากนั้นวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนผังก้างปลา พบว่าสาเหตุหลักของปัญหา ได้แก่ การขาดเครื่องมือจับยึดในกระบวนประกอบผลิตภัณฑ์ และสภาพแวดล้อมการจัดเรียงไม้ไม่เหมาะสม จึงนำปัญหาที่ได้นั้นมาสร้างแผนภาพต้นไม้ ได้มาตรการปรับปรุง คือ การสร้างเครื่องมือจับยึด และการอบรมด้านคุณภาพและมาตรฐานการทำงาน ผลการปรับปรุงพบว่า อุปกรณ์ผ่านการทดสอบในทุกด้าน คือ ด้านความแข็งแรง การเคลื่อนที่  ความเหมาะสม และผิวสัมผัสงานระหว่างเครื่องมือกับชิ้นงาน ความพึงพอใจในการใช้เครื่องมือจับยึดชิ้นงานโดยรวมของพนักงานพบว่าอยู่ในระดับมาก เวลาการผลิตประตูลดลง 23.19% และ เวลาการผลิตหน้าต่างลดลง 19.47% ข้อบกพร่องด้านการจัดเรียงชิ้นงานไม่ได้มาตรฐาน ค่าความเสี่ยงลดลงจาก 48 เหลือ 16 คิดเป็น 66%  ข้อบกพร่องด้านระยะการตัดไม่ได้มาตรฐาน มีค่าความเสี่ยงลดลงจาก 18 เหลือ 12 คิดเป็น 33% ข้อบกพร่องด้านการประกอบไม่มีประสิทธิภาพ มีค่าความเสี่ยงลดลงจาก 64 เหลือ 16 คิดเป็น 75% ส่งผลให้สามารถลดมูลค่าความสูญเสียจากชิ้นงานอบและตัดได้ 100%

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

สมชาย เปรียงพรม, ศุภกร เจริญประสิทธิ์ และธนกฤต บูชาพันธ์. การลดของเสียในกระบวนการผลิตมอเตอร์ด้วยการออกแบบอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน กรณีศึกษา สายการประกอบมอเตอร์. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2564;12(1): 15-28.

พุธาวัน โพธิ์แก้ว, การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเสื้อผ้ากีฬาในอุตสาหกรรมสิ่งทอ. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2564.

ประเสริฐ ศรีบุญจันทร์ และคณะ. การลดของเสียในกระบวนการผลิตกระป๋องอลูมิเนียม บริษัทกรณีศึกษา. ใน: การประชุมวิชาการราชมงคลด้านเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ ประจำปี พ.ศ. 2566. พัทยา จังหวัดชลบุรี; หน้า 182-187.

ระพีพัฒน์ ช้วนตระกูล. การลดของเสียในกระบวนการรีดลวดโดยใช้เทคนิค FMEA สำหรับการผลิตเครื่องมือแพทย์ตัวอย่าง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2564.

Pazireh E., Sadeghi A.H., Shokohyar S. Analyzing the enhancement of production efficiency using FMEA through simulation-based optimization technique: A case study in apparel manufacturing. Cogent Engineering. 2017;4(1): 1-12.

วนิดา พงษ์สงวน และคณะ. การพัฒนาแบบจำลองปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นโรคเบาหวานด้วยเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2561;1(1): 1-8.

เจษฎาภรณ์ ยอดเพชร และคณะ. การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์จับยึดในกระบวนการผลิตชิ้นงานความเที่ยงตรงสูง. ใน: การประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการระดับชาติ พัฒนาวิศวกรรมและนวัตกรรมเทคโนโลยีสู่การเป็นผู้นำพอเพียงเพื่อความยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ประจำปี พ.ศ. 2564: กรุงเทพฯ; หน้า 531-539.

ปริวรรต นาสวาสดิ์ และคณะ. การปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อลดความสูญเปล่าของกระบวนการขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนต์ทางการเกษตร. ใน: การประชุมวิชาการราชมงคลด้านเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ ประจำปี พ.ศ. 2566: พัทยา จังหวัดชลบุรี; หน้า 234-243.

ยุทธณรงค์ จงจันทร์ และคณะ. การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการอัดเศษอลูมิเนียมกรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย. 2566;9(1): 48-61.

Beyene T.D., Gebeyehu S.G., Mengistu A.T. Application of failure mode effect analysis (FMEA) to reduce downtime in a textile share company. Journal of Engineering, Project, and Production Management. 2018;8(1): 40-46.

Mulyadi H.I., Putri N.T., Muhammad F. Designing of welding jig for productivity improvement and cost-savings in thresher’s cover assembly: A Case Study on CV Citra Dragon Assembly Plant. Conference Series Materials Science and Engineering. 2019;602(1): 1-7.

โศจิรพักร บุตรคำโชติพร และคณะ. การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโดยใชแนวคิด FMEA ในกระบวนการขึ้นรูปแม่พิมพขวดพลาสติก กรณีศึกษาบริษัท GP. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. 2564;1(3): 30-41.