การปรับปรุงตัวหนุนชิ้นงานแบบความยาวแปรผันในอุปกรณ์จับยึดสำหรับงานเจาะ

Main Article Content

จตุรงค์ รวยดี
พงศ์ธร พรหมบุตร

บทคัดย่อ

 


ในการผลิตท่อไอดีสำหรับเครื่องยนต์ซึ่งขึ้นรูปด้วยกระบวนการหล่ออะลูมิเนียมและนำไปปรับแต่งด้วยการเจาะรู เนื่องจากขนาดของชิ้นงานหล่อมีความเล็กใหญ่ต่างกันเล็กน้อย อุปกรณ์นำเจาะและจับงานจึงต้องมีการยึดด้วยตัวหนีบร่วมกับการใช้ตัวหนุนชิ้นงานแบบความยาวแปรผันได้เพื่อรองรับความแตกต่างของขนาดท่อไอดี ซึ่งถ้าการล็อคตำแหน่งของตัวหนุนทำได้ไม่ดีท่อไอดีจะเกิดการขยับจนทำให้ตำแหน่งรูเจาะคลาดเคลื่อน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงตัวหนุนชิ้นงานให้สามารถต้านทานแรงกดจากการหนีบยึดชิ้นงานโดยไม่มีการเลื่อนตามแรงกด และรูเจาะที่ได้มีจุดศูนย์กลางคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งที่กำหนดไม่เกิน 0.5 มม. นอกจากนั้นยังสามารถทำงานแบบอัตโนมัติโดยสร้างแรงล็อคที่คงที่และลดเวลาการทำงานได้ การดำเนินงานเริ่มจากการศึกษาหลักการและทฤษฎีของการล็อคตำแหน่งแท่งหนุนชิ้นงานโดยใช้พื้นผิวเสียดทานที่มีมุมเอียง ออกแบบ สร้างและทดสอบตัวหนุนชิ้นงานแบบใหม่ จากนั้นก็นำไปติดตั้งทดสอบกับเครื่องจักรในสายการผลิต การออกแบบตัวหนุนชิ้นงานแบบความยาวแปรผันแบบใหม่ได้สร้างสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานแรงกดกับแรงล็อคที่ตัวหนุนต้องการ ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรตามเงื่อนไขการใช้งานสำหรับการออกแบบครั้งต่อไปได้ ผลการดำเนินงานพบว่า เมื่อใช้กับระบบไฮดรอลิกความดัน 40 บาร์ ชิ้นงานจะไม่มีการเลื่อนตามแรงกดที่เกิดจากตัวหนีบ จุดศูนย์กลางรูเจาะคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งที่กำหนดโดยเฉลี่ย 0.145 มม.โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.056 มม. และสามารถทำงานแบบอัตโนมัติได้ด้วยระบบไฮดรอลิก การผลิตท่อไอดีที่ใช้ตัวหนุนชิ้นงานแบบใหม่ทำให้อัตราการผลิตเพิ่มขึ้น 33.33 เปอร์เซ็นต์ และการลงทุนปรับปรุงตัวหนุนชิ้นงานนี้มีระยะเวลาคืนทุน 4 เดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

C LINE Limited Partnership. อลูมิเนียมแผ่น เข้าถึงได้จาก: https://www.clinemetal.com/contecnt/20511/aluminium-sheetww [เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2567]

Mangkon Aluminium. ความสำคัญของอลูมิเนียมต่ออุตสาหกรรม. เข้าถึงได้จาก: http://www.mka.co.th/important.php [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563]

Vasdev Malhotra, Yogesh Kumar, STUDY OF PROCESS PARAMETERS OF GRAVITY DIE CASTING DEFECTS, International Journal of Mechanical Engineering and Technology (TJMET). March- April 2016; Volume 7, Issue 2 : 210

Hoffman, E.G. (2004), Jig and Fixture Design (5th Ed.). New York: Delma, Cengage Learning : 25-30

J.R. Boerma, H.J.J Kals , Fixture Design with FIXES :the Automatic Selection of Positioning, Camping and Support Feature for Prismatic Parts, Laboratory of production Engineering , University of Twente, January 17, 1989 : 400-401

Shailesh S. Pachbhai , Laukik P. Raut , A Review on Design of Fixtures, International Journal of Engineering Research and General Science. Feb-Mar 2014; Volume 2 : 129-132

Charles Chikwendu Okpala, Ezeanyim Okechukwu C. , The Design and Need for Jigs and Fixtures in Manufacturing, Science Research , July 25, 2015 : 214-217

H Radhwan, M S M Effendi, Muhamad Farizuan Rosli, Z Shayfull, K. N. Nadia , Design and Analysis of Jigs and Fixtures for Manufacturing Process, Joint Conference on Green Engineering Technology & Applied Computing, 2019: 3-5

Joshi, P.H. (2003) Jigs and Fixtures Design Manual (2nd Ed.). USA: The McGraw-Hill Companies, Inc. : 26-22

Aguirrebeitia, J., Müftü, S., Abasolo, M. and Vallejo, J. Experimental study of the removal force in tapered implant-abutment interfaces: A pilot study. The Journal of Prosthetic Dentistry. 2014; Vol. 111, Issue 4: 293-300.

Shailesh S Pachbhai, Laukik P Raut, Design and Development of Hydraulic Fixture for Machining Hydraulic Lift Housing, International Journal of Mechanical Engineering and Robotics Research, July, 2014; Vol 3, No. 3 : 205-207

S.D.V.V.S.B.REDDY, P SATISH REDDY, V SUBRAHMANYAM, Design And Analysis of Machining (Hydraulic) Fixture For AVTEC Transmission Case Component, International Journal of Science Engineering and Advance Technology, July-2014; Vol 2, Issue 7 : 203-206

Jaykumar K Dhulia, Dr. Nirav P Maniar, Design, Modelling and Manufacturing of 16 Cylinder Hydraulic Fixture with Automated Clamping System, Journal of Physics: Conference Series, 2019: 4-7