การศึกษาเพื่อตรวจสอบหาความยาวและจำนวนแถวที่เหมาะสมของรางปลูกในการจ่ายน้ำเย็นให้กับการปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์

Main Article Content

ธวัชชัย จารุวงศ์วิทยา

บทคัดย่อ

จากปัญหาของสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยและประเทศที่อยู่ในเขตร้อนส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ คณะผู้วิจัยจึงนำระบบทำความเย็นแบบอัดไอมาประยุกต์เพื่อลดอุณหภูมิให้กับสารละลายที่เป็นสารอาหารของผักให้มีอุณหภูมิ 25°C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาถึงความยาวของรางปลูกและจำนวนแถวของรางปลูกที่ไม่มีผลกระทบต่ออุณหภูมิของสารละลายในรางปลูกภายใต้อุณหภูมิดังกล่าว และอัตราการไหลระหว่าง 100 ถึง 200 ลิตรต่อชั่วโมง โดยดำเนินการทดลองปรับเปลี่ยนความยาวและจำนวนแถวของรางปลูกดังนี้ รางปลูกยาว 20 เมตร จำนวน 1 แถว, 16 เมตร จำนวน 2 แถว, 12 เมตร จำนวน 3 แถว, 8 เมตร จำนวน 4 แถว และ 6 เมตร จำนวน 6 แถว ผลการวิจัยพบว่าเมื่อรางปลูกมีความยาวเพิ่มขึ้น อุณหภูมิของสารละลายในรางปลูกมีการเปลี่ยนแปลง


 


 


เพิ่มขึ้น ภายใต้อัตราการไหลเดียวกัน  โดยจำนวนรางที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ             ของสารละลาย ความยาวและจำนวนของรางปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมคือรางปลูกพืชที่มีความยาว


6 เมตร จำนวน 6 แถว ในทุก ๆ อัตราการไหล เนื่องจากภายใต้ความยาวนี้สามารถรักษาอุณหภูมิของสารละลายให้คงที่ และเมื่อพิจารณาถึงผลผลิตที่ได้จากการปลูกก็สามารถให้ผลผลิตมากที่สุดคือ 180 ต้น

Article Details

How to Cite
1.
จารุวงศ์วิทยา ธ. การศึกษาเพื่อตรวจสอบหาความยาวและจำนวนแถวที่เหมาะสมของรางปลูกในการจ่ายน้ำเย็นให้กับการปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์. featkku [อินเทอร์เน็ต]. 1 กรกฎาคม 2015 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];1(2):67-74. available at: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/176149
บท
บทความวิจัย

References

[1] อิทธิสุนทร นันทกิจ. การปลูกพืชในระบบ NFT (Nutrient film technique) [อินเทอร์เน็ต]. 2558. เข้าถึงได้จาก: http://www.kmitl.ac.th/ hydro/ NTFdoc.htm

[2] อิทธิสุนทร นันทกิจ. การออกแบบและจัดการระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบNFT) [อินเทอร์เน็ต]. 2558. เข้าถึงได้จาก: http://www.kmitl.ac.th/hydro/NFTDesign.htm.

[3] ปรเมศวร์ สุทธิประภา. การลดอุณหภูมิในระบบปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ด้วยท่อความร้อน[วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.

[4] Kao TC. The Dynamic Root Floating Hydroponic Technique: Year-Round Production of Vegetables in ROC on Taiwan. Taiwan: Taichung District Agricultural Improvement Station Tatsuen Hsiang; 1991.