การพัฒนาเครื่องอบแห้งเส้นไหมแบบอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว

Main Article Content

ธัญภพ ศิริมาศเกษม
ธเนศ ตั้งจิตเจริญเลิศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาและสร้างเครื่องอบแห้งเส้นไหมแบบอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งเส้นไหมแบบอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว และ2) หาประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งเส้นไหมแบบอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว วิธีวิจัยโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในการควบคุมและแสดงผล ใช้พลังงานไฟฟ้า 220 โวลต์ 1 เฟส ใช้ขดลวดความร้อนทางไฟฟ้าเป็นตัวกำเนิดความร้อน มอเตอร์พัดลมแบบหอยโข่งเป็นตัวพาความร้อน และมอเตอร์เกียร์เป็นตัวหมุนชุดแขวนไจไหม และการเปรียบเทียบค่าความชื้นของเส้นไหมช่วงก่อนอบและหลังการอบด้วยเครื่องอบแห้งเส้นไหมแบบอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว ดำเนินการทดสอบเส้นไหมถูกอบที่อุณหภูมิ 35 40 และ 45 องศาเซลเซียส ที่ช่วงเวลาอบ 2, 4, 6, 8 และ10 นาที วัสดุอบใช้ไหมเปลือกหรือไหมหลืบชุบน้ำบิดหมาด เส้นไหมจำนวน 7 ไจ ต่อ 1 รอบการอบ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งเส้นไหมแบบอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว ณ อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส มีประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 16.55 อุณหภูมิที่ 40 องศาเซลเซียส มีประสิทธิภาพภาเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 18.66 และ 45 องศาเซลเซียส มีประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับ ร้อยละ 19.58 การเพิ่มอุณหภูมิและระยะเวลาจะส่งผลต่อปริมาณ ความชื้นที่ลดลง ชี้ให้เห็นว่าอิทธิพลร่วมระหว่าง 2 ปัจจัยส่งผลต่อปริมาณความชื้นในเส้นไหม

Article Details

How to Cite
1.
ศิริมาศเกษม ธ, ตั้งจิตเจริญเลิศ ธ. การพัฒนาเครื่องอบแห้งเส้นไหมแบบอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว. featkku [อินเทอร์เน็ต]. 23 มิถุนายน 2023 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];9(1):1-14. available at: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/246365
บท
บทความวิจัย

References

Ravitep Musikapan. Development of Natural Dye Shades from Colored Hol Silk Wisdom to Expand the Silk Textile Product Innovation of the Termtem Studio Brand. Journal of Fine Arts, Chiang Mai University. 2021; 12: 207-38.

เครือวัลย์ มาลาศรี. การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการทอผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติและการผลิตสีย้อมธรรมชาติชุมชนเทศบาล ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2, 5-6 สิงหาคม 2562. จังหวัดสงขลา; 2562.

วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร์ และคณะ. การพัฒนาส่งเสริมและเผยแพร่การใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2548.

สังวาล เพ็งพัด และ วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร. การอบแห้งผลิตภัณฑ์เนื้อและปลาด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานพลังงานแสงอาทิตย์ระดับอุตสาหกรรมในครัวเรือน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2538.

จิราวุธ วารินทร์. Arduino Uno พื้นฐานสำหรับงาน IOT. Prompt: กรุงเทพฯ; 2561

จำรูญ ตันติพิศาลกุล. การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 1. เม็ดทรายพริ้นติ้ง: กรุงเทพฯ; 2540.

ดอนสัน ปงผาบ. ภาษาซีและ Arduino. สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น): กรุงเทพฯ; 2560.

ไชยันต์ สุวรรณชีวะศิริ. วิศวกรรมควบคุม 1. ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ: กรุงเทพฯ; 2562.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. คู่มือประกอบการอบรม โครงการค่ายอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ. งานพัฒนากำลังคนด้านอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ (HRDS) ฝ่ายบริหารโครงสร้างพื้นฐาน (IMD): ปทุมธานี; 2563.