การพัฒนาขั้นตอนวิธีในการควบคุมเส้นทางการเคลื่อนที่สำหรับแขนกลกรีดยางพารา

Main Article Content

ยงยุทธ์ เสียงดัง
กมลชนน วงค์สถาน
ฉัตริน เรืองจอหอ
มงคล คธาพันธ์
พยุงศักดิ์ จุลยุเสน

บทคัดย่อ

บทความนี้อธิบายการพัฒนาขั้นตอนวิธีในการควบคุมเส้นทางการเคลื่อนที่สำหรับแขนกลกรีดยางพารา เส้นทางการเคลื่อนที่ถูกออกแบบตามรอยกรีดที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งวงรี แขนกลคาร์ทีเซียนแบบสองแกนถูกนำมาใช้เป็นแขนกลกรีดยางต้นแบบ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อนำทางแขนกลติดตามเส้นทางการเคลื่อนที่ที่ออกแบบไว้ การทดสอบทำในห้องปฏิบัติการโดยใช้ต้นยางพาราจำลอง ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า การควบคุมเส้นทางการเคลื่อนที่ด้วยตัวควบคุมพีไอดีสามารถช่วยให้แขนกลทั้งสองแกนเคลื่อนที่ติดตามเส้นทางที่ต้องการได้อย่างราบเรียบ ถึงแม้ว่าจะเกิดความผิดพลาดทางตำแหน่งสูงสุดของแขนกลแกน Z เท่ากับ 14.8 mm ที่ตำแหน่งสุดท้ายของการเคลื่อนที่ ดังนั้นขั้นตอนวิธีควบคุมเส้นทางการเคลื่อนที่นี้มีศักยภาพสูงในการนำไปปรับแปลงเพื่อใช้งานจริง

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:http://mis-app.oae.go.th/product/ยางพารา

อภิญญา จันทร์เจริญ และ บัญชา สมบูรณ์สุข. วิเคราะห์สถานการณ์แรงงานการกรีดยางพารา และการทำยางแผ่นของเกษตรกรชาวสวนยางในภาคใต้. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์. 2540; 18(1): 25-38.

อัจราพร ทรปุ่น. พฤติกรรมการปฏิบัติงานของแรงงานครัวเรือนในระบบการผลิตยางพาราในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

วันเฉลิม จันทรากุล และ อภินันท์ จันตะนี. ปัญหาและแนวทางแก้ไขราคายางพาราตกต่ำ. วารสารรัชตภาคย์. 2563; 14(33): 132-40.

นริศรา มหาธนินวงศ์, เธียรศักดิ์ ชูชีพ, นงเยาว์ เมืองดี, ปิยนาฎ คงทิม, เอกสิทธิ์ อนันต์เจริญวงศ์, สุธิดา หมาดโต๊ะซ๊ะ และ กนกรัตน์ สำอางกาย. พฤติกรรมการกรีดยางพารา พฤติกรรมการเลือกใช้มีดกรีดยางพารา และการประเมินแนวคิดเกี่ยวกับเครื่องกรีดยางพาราอัตโนมัติของเกษตรกรชาวสวนยางพารา. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 2559; 33(1): 66-76.

ยงยุทธ์ เสียงดัง. การออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบกรีดยางพาราแบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2551.

นริศรา มหาธนินวงศ์, เธียรศักดิ์ ชูชีพ, นงเยาว์ เมืองดี, ภูริวัฒน์ เพ็ชรนิคม, อนุพงษ์ สุวรรณมณี และ เอกพัฒน์ ช่วยเมือง. ใบมีดกรีดยางสำหรับเครื่องกรีดยางอัตโนมัติ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2559; 19(2): 23-31.

เอกสิษฐ์ อนันต์เจริญวงศ์, นงเยาว์ เมืองดี, นริศรา มหาธนินวงศ์, ปิยนาฎ คงทิม และ สุธิดา หมาดโต๊ะซ๊ะ. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องกรีดยางพาราอัตโนมัติกับการกรีดแบบใช้มีดเจ๊ะบง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2562; 22(2): 22-8.

พิศมัย จันทุมา. การเจริญเติบโต ความหนาเปลือก และลักษณะทรงพุ่มของยางพันธุ์ RRIM 600 และสถาบันวิจัยยาง 251 ที่ระยะเปิดกรีด. วารสารยางพารา. 2557; 35(3): 2-11.