ชุดสาธิตทางทหารในการส่งสัญญาณแสงด้วยเทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอชุดสาธิตทางทหารในการส่งสัญญาณแสงโดยการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา ที่ถูกออกแบบและพัฒนาให้มีลักษณะการทำงานเสมือนวิทยุถ่ายทอดทางยุทธวิธี รุ่น RL 422A โดยใช้หลักการวงจรร่วมสร้างสัญญาณดิจิทัลด้วยวิธีการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลาผ่านเส้นใยแก้วนำแสง ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยการรับ-ส่งสัญญาณผ่านใบงานการทดลองและคำนวนหาค่าอัตราความผิดพลาดบิตของสัญญาณที่วัดได้ในสัญญาณที่ผ่านเส้นใยแก้วนำแสงเปรียบเทียบกับสัญญาณที่ผ่านเครื่องวิทยุถ่ายทอดทางยุทธวิธี รุ่น RL 422A โดยใช้แผนภาพดวงตา (Eye Diagram) และใบงานการทดลองที่ใช้ในการวิจัยเป็นสื่อการเรียนสอนในวิชาการปฏิบัติการสื่อสารและวิชาการสื่อสารทางยุทธวิธี จากการวิจัยพบว่า ชุดสาธิตสามารถรับส่งสัญญาณทั้ง 4 สัญญาณและสามารถปรับความถี่ได้ตามกำหนด จากการทดสอบความรู้ทฤษฎีของนักเรียนนายร้อยจำนวน 12 นาย ก่อนและหลังการนำชุดสาธิตมาประกอบการทดลอง พบว่าก่อนการทดลองคะแนนเฉลี่ย 6.83 คะแนน (เต็ม 15 คะแนน) และหลังการทดลองการคะแนนเฉลี่ย 13.5 คะแนน สรุปได้ว่าการนำชุดสาธิตประกอบใบงานการทดลองมาเป็นสื่อการเรียนการสอนนั้น เพิ่มทักษะทางการใช้งานและความรู้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องของนักเรียนนายร้อย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ก่อนเท่านั้น
References
วิทวัส สิฏฐกุล, การสื่อสารผ่านเส้นใยนำแสง, 1st ed. ประเทศไทย, สำนักพิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2560
Pedram Keirkhah Sangdeh, “Overview of Multiplexing Techniques in Wireless Networks” Published on September 2019 from https://www.intechopen.com/books/multiplexing/overview-of-multiplexing-techniques-in-wireless-networks
Shiva Kumar, M.Jamal Deen, “Fiber Optic Communication: Fundamentals and Application” John Wiley and Son, 2014
R.Sokullu, “Digital Communication Systems”, chapter 6, 2012.
วิทวัส สิฏฐกุล จิรกิตติ์ เตรียมสกุล และ ปรีชา เกิดเจริญ. (2560). ชุดสาธิตการจำลองเหตุการณ์ผิดปกติบนสายใยแก้วนำแสง.การประชุมวิชาการ งานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 9.
แผนกการสื่อสารประเภทสาย ส่วนการศึกษา โรงเรียนทหารสื่อสาร กรมการทหารสื่อสาร, 2550.
ชนะ จันทร์อิ่ม. (2563). ชุดสาธิตการส่งสัญญาณแสงโดยวิธีการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น 850 และ 1,310 นาโนเมตร. เอกสารงานวิจัย กองทุนพัฒนาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.
ดิสพล ฉ่ำเฉียวกุล. การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการด้านการสื่อสารทางแสงแบบประหยัด. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา; 2557.
STMicroelectronics. (2001). Datasheet Series 74HC. Retrieved on December 6, 2020, from https://datasheetz.com
ภัทรพงษ์ รักน้อย, ปรีชา ยุพาพิน. (2539). การตรวจวัดระยะไกลทางสิ่งแวดล้อมโดยใช้เส้นใยนำแสง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปีที่ 4 เล่มที่ 2. 72-77.