การศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุชีวมวล

Main Article Content

นเรศ สิริวราวุธ
ปราโมทย์ สุขศิริศักดิ์
นุกูล สุขุประการ
ประยูร กันอยู่

บทคัดย่อ

ปัจจุบันโลกมีขยะจำนวนมากทั้งวัสดุที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ได้และไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งประเภทของขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ที่พบมากในแหล่งชุมชนคือวัสดุชีวมวล โดยวัสดุชีวมวลเหลือใช้บางประเภทสามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะให้โลก งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาอัตราการให้ความร้อนของวัสดุชีวมวล 4 ประเภท ได้แก่ กากชา ซังข้าวโพด ใบสน และกระดาษชานอ้อย โดยใช้ตัวประสาน 2 ชนิด ได้แก่ พาราฟินและแป้งมันสำปะหลัง และทำการอัดแท่งเป็น 3 รูปทรง ได้แก่ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม รวมไปถึงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้ความร้อนของวัสดุชีวมวลอัดแท่งแต่ละประเภทที่จัดทำขึ้นมา โดยใช้ถ่านไม้อัดแท่งเป็นเกณฑ์ในการวัด จากผลการทดสอบพบว่าเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุชีวมวลจากกระดาษชานอ้อยรูปทรงสี่เหลี่ยมที่ใช้พาราฟินเป็นตัวประสานในอัตราส่วน 1 : 1 ให้ค่าความร้อนสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชีวมวลชนิดอื่น ๆ ที่ 6,942.67 แคลอรีต่อกรัม และให้ค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนเทียบกับถ่านไม้อัดแท่งเป็น 97.1%

Article Details

How to Cite
[1]
สิริวราวุธ น. ., สุขศิริศักดิ์ ป. . ., สุขุประการ น. . ., และ กันอยู่ ป. . ., “การศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุชีวมวล”, NKRAFA J SCI TECH, ปี 17, ฉบับที่ 2, น. 31–44, ธ.ค. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

Information on. สถานการณ์ขยะในไทย. สืบค้น 10 มิถุนายน2564, https://www.bangkokbiznews. com/ news/detail/863554.

Information on. สรุปสถานการณ์พลังงานปี 2564สำนักนโยบายและแผนพลังงาน. สืบค้น 8 มิถุนายน2564, https://www.eppo.go.th/epposite/index.php.

Information on. เชื้อเพลิงแข็ง. สืบค้น 7 พฤษภาคม 2564, https://dmf.go.th/public/

วันวิสา ภู่จินดา และ สิริสุดา หนูทิมทอง. (2557). การศึกษาการใช้พลังงานชีวมวลเพื่อผลิตพลังงานความร้อนในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 2(2): 67-82.

Irvin, G., & Richard, A.Y. (2008). Combustion. New York: Academic Press.

อนุรักษ์ บุญรุ่ง. ภูริวัฒ อาศิรวาท. ธรรมรัตน์ สุขไพบูลย์ และ พิชาญ พิชัยณรงค์. (2558). วัสดุชีวมวลกับการนำมาผลิตเชื้อเพลิงแข็งอัดแท่งเพื่อศึกษาสมรรถนะ. วารสารวิชาการนายเรืออากาศ. 11(1): 44-48.

เอกอัคร โพธิ์ทอง และ กษิดิศ พยัฆศาสตร์. (2559). รายงานโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาวัสดุชีวมวลกับการทำเชื้อเพลิงแข็ง. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล กองวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและอุตสาหการ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช.

ปฐมศก วิไลพล และคณะ. (2561). การวิเคราะห์อัตราส่วนผสมสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่งจากเศษถ่านของกระบวนการเผาอิฐมอญ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 4(1): 43-50.

นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล และ พัชรี ปรีดาสุริยะชัย. (2558). การศึกษากากกาแฟและกากชามาใช้ประโยชน์ในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 7(13): 15-26.

ชมนันท์ คำพา. เธียรวุฒิ ดนตรี และ นัจภัค สุขสวัสดิ์.(2563). การใช้วัสดุทางการเกษตรในการผลิตแอลกอฮอล์เชื้อเพลิงแข็งและไขมันเชื้อเพลิงอัดแท่ง. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 30(2): 186-198.

ดวงกมล ดังโพนทอง. วสันต์ ปินะเต และ อดิศักดิ์ ฤาชา. (2559). การเปรียบเทียบค่าความร้อนและ ความหนาแน่นของถ่านไม้อัดแท่งจากมอเตอร์ไฟฟ้าและจักรยานขับเคลื่อน. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 9(1): 1-13.

ปกรณ์ อุ่นไธสง และ รชต มณีโชติ. (2562). การสร้างเครื่องและหาประสิทธิภาพถ่านอัดแท่งจากฝักราชพฤกษ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 7(2): 147-156.

Information on. การแปรรูปพลังงานจากไม้และ ชีวมวล. สืบค้น 5 มิถุนายน 2564, https://forprod.forest.go.th/forprod/woodenergy/PDF/public