การศึกษาการเพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถด้านเทคโนโลยี (Technology Capability) ของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในปัจจุบันและความต้องการ (Needs) ของผู้ประกอบการในการพัฒนากำลังคน ด้านความรู้และทักษะที่สำคัญโดยนำเสนอ ในรูปแบบของแผนงานในการเพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้บริหาร พบว่าอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของประเทศไทยที่มีขีดความสามารถสูงที่สุด คือ กลุ่มอุตสาหกรรมประเภทต่อเรือ ที่หน่วยงานภาครัฐดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนจากต่างประเทศ อีกทั้งความสามารถด้านเทคโนโลยี (Technology Capability) ที่ต้องส่งเสริมประกอบด้วย เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotics) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นมาตรฐานทางทหารเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการบิน นอกจากนี้ ในความต้องการ (Needs) ในการพัฒนาคน พบว่าคนต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน จากสถาบันการศึกษาผ่านการดำเนินนโยบายออฟเซต (Offset Policy) เพื่อมุ่งเน้นทักษะเฉพาะด้านในระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่า เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ในประเภทอุตสาหกรรมกลุ่มอาวุธกระสุนและวัตถุระเบิด กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมทางทะเล กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มเครื่องช่วยฝึก และกลุ่มอุปกรณ์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมีกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (AHP: Analytic Hierarchy Process) เพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์จากการสร้างตาราง TOWS Matrix เป็นมาตรการเชิงรุก ซึ่งกลยุทธ์นี้จะใช้ในการกำหนดนโยบายและแผน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศต่อไปในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ก่อนเท่านั้น
References
จุฬาลักษณ์ กองเพชร. (2559). การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ของบริษัทผลิตเลนส์และกล้องถ่ายรูป. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดนัยศักดิ์ หงส์พันธุ์. (2560). การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลาดับชั้นสาหรับการเลือกสถานที่ตั้งรีสอร์ทในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
นพรัตน์ นุ่มศิริ. (2564). การตัดสินใจเลือกรูปแบบในการจัดการมูลฝอยของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2564.
แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. 2563 -2580) กระทรวงกลาโหม.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2560 – 2579 (ฉบับเผยแพร่).
รัฐรุจน์ ฐิติชาติธนวงศ์. (2557). การจัดลำดับปัจจัยความสำคัญในการคัดเลือกเครื่องจักรโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น กรณีศึกษาโรงผลิตเครื่องประดับ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิษณุ มั่งคั่ง. (2560). แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2560.
พลตรีเอกชัย หาญพูนวิทยา. (2560). เอกสารวิจัยวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เรื่อง การขับเคลื่อนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรม.
Shinno, H., Yoshioka, H., Marpaung, S., and Hachiga S. (2006). Quantitative SWOT analysis on global competitiveness of machine tool industry. Journal of Engineering Design. Vol.17. pp. 251-258.
Mofofeng, T. & Mativenga, P.T., (2020). Analysis of aircraft maintenance processes and cost, Procedia CIRP. 90. 467-472.
Saaty, T. L. 1980. The Analytic Hierarchy Process. McGraw-Hill,New York.
Kusonwattana, P., Liangrokapart, J. "Efficiency Enhancement in Rail Freight Service in Thailand Using Servqual Model". 2020 IEEE 7th International Conference on Industrial Engineering and Applications (ICIEA), Bangkok, Thailand, 2020, pp. 847-853, doi: 10.1109/ICIEA49774.2020.9102020.
Raka C., Liangrokapart J. (2017). An Analytical Hierarchy Process (AHP) Approach to Risk Analysis: A Case Study of a New Generic Drug Development Process. Journal of Pharmaceutical Innovation, 12, p. 319-326.
Nitisaroj, Y., Liangrokapart, J. (2020). Third party logistics providers: Sustainability performance measurement framework. International Journal of Logistics Systems and Management, 37(3), pp. 352–370.