โครงการทดสอบสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดของนักศึกษาสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดในนักศึกษาสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อนและหลังการฝึกสมรรถภาพทางกายเป็นเวลา 2 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชาย-หญิง ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 จำนวน 36 คน ทำการปั่นจักรยานวัดงานผ่านเครื่องวิเคราะห์ก๊าซที่ความหนักของงาน ร้อยละ 85 - 90 ของความสามารถสูงสุดของอัตราการเต้นของหัวใจ โดยการเพิ่มความต้านทานของจักรยานขึ้น 25 วัตต์ ทุกนาที และทำการบันทึกปริมาณอากาศที่หายใจ 1 นาที อัตราการใช้ออกซิเจน อัตราการขับคาร์บอนไดออกไซด์ สัดส่วน การใช้ออกซิเจนและขับคาร์บอนไดออกไซด์ และอัตราการเต้นของหัวใจรวมถึงค่าออกซิเจนเมแทบอลิซึม และประมาณค่าการใช้ออกซิเจนสูงสุดโดยสมการเส้นตรงของความสัมพันธ์ระหว่างค่าอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการใช้ออกซิเจน ผลการศึกษาพบว่าค่าอัตราการเผาผลาญออกซิเจนเพื่อสร้างพลังงาน (MET) และอัตราการเต้นของหัวใจมีค่าลดลงที่ความต้านทาน 125 วัตต์ (p<0.05) แสดงถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดก่อนและหลังการฝึกไม่มีความแตกต่างกัน การให้ความสำคัญกับโปรแกรมการฝึกซ้อม การออกแบบฝึกแบบมุ่งเน้นสมรรถภาพระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดและความทนทานจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าความสามารถการใช้ออกซิเจนสูงสุด
Article Details
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ก่อนเท่านั้น
References
[2] กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. (ร.ส.พ.).
[3] ราตรี เรืองไทย. (2545). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 183521 การทดสอบสมรรถภาพทางกาย เรื่อง Cardiorespiratory Fitness Test.
[4] Hoeger, W.K.,& Hoeger, W.S.(2002). Principles and Laps for Fitness and Wellness., Canada, Transcontinental Printing.
[5] การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2546). เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายประชาชนไทย. กองวิทยาศาสตร์การกีฬา ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย.
[6] นรีรัตน์ บุตรบุญปั้น. (2555).ระดับความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตชลบุรี (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
[7] สรายุทธ มงคล และคณะ. (2556).ผลของการออกกำลังกายด้วยเกมเต้นของนินเทนโดวีต่อดัชนีมวลกายและระบบหัวใจและหลอดเลือดในคนอ้วนเพศหญิง. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. 46 (2): 122-130.
[8] กรกต คูหาเพ็ชร์.(2555). ผลของชนิดการออกกำลังกายแบบแรงต้านที่ต่างกันก่อนการปั่นจักรยานที่มีต่อการเผาผลาญไขมัน. (ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
[9] Tinuan, J., & Chaiwatcharaporn, C.A. (2012). Comparison between the Effect of Aerobic andAnaerobic Training on Anaerobic Threshold in Eighteen Years Old Soccer Players. Journal of Sports Science and Health, 13(1): 25-37.