การศึกษาวิธีการจำแนกประเภทอาการภาวะซึมเศร้าโดยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล

Main Article Content

อุไรวรรณ อินทร์แหยม

บทคัดย่อ

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาภาวะซึมเศร้าเป็นที่พูดถึงกันอย่างมาก ภาวะซึมเศร้าส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และความคิด โดยอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เช่น กินอาหารได้น้อยลง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ สิ้นหวัง หดหู่ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขกับชีวิต วิตกกังวลตลอดเวลา และที่สำคัญคือผู้ป่วยจะไม่สามารถรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญได้ดีพอ อีกทั้งภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่มีผลกระทบต่อสภาวะสังคมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เป็นโรคใกล้ตัวที่สามารถรักษาให้หายได้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจรุนแรงจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย มีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทั่วโลกประมาณ 322 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของประชากรโลก และประเทศไทยนั้นโรคซึมเศร้าถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพที่มีความสำคัญและน่าเป็นห่วงอย่างมาก งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าโดยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล เพื่อให้ผู้ที่ต้องการประเมินหรือต้องการทดสอบว่าตนเองอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงหรือไม่ และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที โดยผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือและเว็บไซต์ต่าง ๆ จำนวน 100 ชุดข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลปัจจัยสำหรับวิเคราะห์ และผลลัพธ์แบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ ไม่มีความเสี่ยง ความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงสูง ทำการตัดคำ และได้เลือกใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูลมาใช้ในการสร้างแบบจำลองในโครงงานวิจัย ได้แก่ ต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชิน (Support Vector Machine) และโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network) เพื่อหาแบบจำลองที่ดีที่สุด ที่จะสามารถนำไปพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าโดยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล ที่มีความถูกต้อง ความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

Article Details

How to Cite
[1]
อินทร์แหยม อ., “การศึกษาวิธีการจำแนกประเภทอาการภาวะซึมเศร้าโดยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล”, NKRAFA J SCI TECH, ปี 16, ฉบับที่ 1, น. 92–100, ก.ย. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (15 ธันวาคม 2562). “ป่วยโรคซึมเศร้าเปลือยดิ่ง 24 ชั้น.” สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/new/ local/bangkok/1726275

ไทยรัฐออนไลน์. (8 มกราคม 2563). ส่องตำรวจ : “ตำรวจกับโรคซึมเศร้า” สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/new/local/1741745

MATICHON ONLINE. (10 มิถุนายน 2562). “กรมสุขภาพจิตห่วงวัยรุ่น “เยาวชนไทย” มีภาวะซึมเศร้า แนะคนรอบข้างรับฟัง อย่างเข้าใจ.” สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/loca/quality-life/news_1532486

โพสต์ทูเดย์. (07 พฤษภาคม 2562). “โรคซึมเศร้า...เรากำลังเป็นหรือป่าว” สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/life/healthy/588406

Alodokter. (1 ธันวาคม 2559). “ความหมาย โรคซึมเศร้า.” สืบค้นจาก https://www.pobpad.com/โรคซึมเศร้า

ดร. เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา, (2557). “การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคดาต้า ไมน์นิงเบื้องต้น”, พิมพ์ครั้งที่ 2, 7 – 15. บริษัท เอเชีย ดิจิตอลการพิมพ์ จำกัด

กรมวุฒิ นงนุช อนุชา ซาเฮาะ และ สุวุฒิ ตุ้มทอง, “การวิเคราะห์บทความอัตโนมัติ โดยใช้ กระบวนการภาษาธรรม ชาติ”, ในการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, วันที่ 22 มิถุนายน 2559, ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จ.พระนครศรีอยุธยา, หน้า 473.

บุญมาร., & จิระวิชิตชัยน. “การจำแนกประเภทผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล และการเลือก คุณลักษณะจากความสัมพันธ์ของข้อมูล.” วรสาร, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2, หน้า 11-19, 2562.

N. Bidi and Z. Elberrichi, "Feature selection for text classification using genetic algorithms," 2016 8th International Conference on Modelling, Identification and Control (ICMIC), Algiers, 2016, pp. 806-810.

นพมาศ ปักเข็ม. ชนิดา จันมณีย์ และ ศิวกร อุยสุย. “การจำแนกประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยแบบอัตโนมัติโดยวิธีการทางเหมืองข้อมูล” บทความวิจัย, ปีที่ 20, ฉบับที่ 3, หน้า 300-307, 2560

ณัฐวดี หงส์บุญมี และ ธนภัทร ธรรมกรณ์. “ระบบคัดกรองผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้เทคนิคเหมือง ข้อมูล”วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), ปีที่ 11, ฉบับที่ 21, หน้า 100 - 113, 2562

Fan, Wen & Sun, Shutao & Song, Guohui. (2011). “Probability adjustment Naïve Bayes algorithm based on nondomain-specific sentiment and evaluation word for domain-transfer sentiment analysis.”, Eighth International Conference on Fuzzy Systems and Knowledge Discovery, 26-28 July 2011, Shanghai, China, pp. 1043-1046