การพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศเพื่อแนะนำเส้นทางการโดยสารรถประจำทาง ด้วยอัลกอริทึมพลวัต เอ สตาร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนากลไกการเลือกเส้นทางโดยสารรถประจำทาง โดยผู้วิจัยได้นำแนวคิดการคัดเลือกเส้นทางด้วยอัลกอริทึมพลวัต เอสตาร์มาใช้เพื่อค้นหาและคัดเลือกเส้นทางที่เหมาะสมแก่ผู้ใช้งาน ทำให้ช่วยคำนวณเวลา และวางแผนการเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบจำลองสารสนเทศเพื่อแนะนำเส้นทางโดยสารรถประจำทางที่ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาสวิฟท์บนพื้นฐานอัลกอริทึมพลวัต เอ สตาร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้อมูลการโดยสารรถประจำทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เส้นทางสาย 207, 51ร, 522 ประกอบด้วย (1) ค่าความเสี่ยงของเส้นทาง (2) ค่าความเหมาะสมของจุดขึ้น-ลงรถโดยสารประจำทาง และ (3) ค่านัยสำคัญของเส้นทางการโดยสารรถประจำทาง สำหรับใช้คำนวณหาเส้นทางที่เหมาะสม ผลการวิจัย พบว่า ผลลัพธ์จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยในระดับดี (= 4.30, S.D. = 0.27) ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการคัดเลือกเส้นทางโดยสารรถประจำทาง อื่น ๆ รวมทั้งองค์ความรู้นี้ยังสามารถนำไปขยายผลทางวิชาการได้ต่อไปในอนาคต
Article Details
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ก่อนเท่านั้น
References
[2] Paul, J., Burke, & Nishitateno, Shuhei. (2011). Gasoline prices, gasoline consumption, and new- vehicle fuel economy: Evidence for a large sample of countries. Australian National University Coombs Building 9.
[3] Lane, B. W. (2010). The relationship between recent gasoline price fluctuations and transit ridership in major US cities. Journal of Transport Geography, 18: 214-225.
[4] ชนินทร์ เขียวสนั่น. (2547). การส่งเสริมระบบขนส่ง มวลชนในเขตเมืองชั้นใน กรณีศึกษา พฤติกรรมการ เดินทางของผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในย่านธุรกิจถนนสีลม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
[5] ธเนศ ขุมทรัพย์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่าย ด้านที่อยู่อาศัยค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้าสู่แหล่งงาน และที่ตั้ง ที่อยู่อาศัย :กรณีศึกษา ผู้ที่ทางานในอาคาร สำนักงานย่านถนนสาทร (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
[6] อรอนงค์ กฤตยาเกียรณ์. (2545). การจัดทาพื้นที่จอด รถยนต์เพื่อสนับสนุนโครงการระบบขนส่งมวลชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย).
[7] สุรเชษฐ์ กานต์ประชา และเศรษฐา ตั้งค้าวานิช.(2557). ระบบติดตามและประมาณเวลาการเดินรถไฟฟ้าด้วย สมาร์ทโฟนผ่านเครือข่าย 3G (โครงการวิจัยคณะ วิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
[8] สุขสวัสดี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ และประสงค์ ปราณีตพลกรัง. (2554). การพัฒนาแบบจำลองการจัดเส้นทางการ เดินทางที่เหมาะสมในรูปแบบพลวัตของอัลกอรึทึม เอ สตาร์. ในการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
[9] สัญญา เครือหงษ์ และสุรางค์รัตน์ เชาว์โคกสูง. (2551). การพัฒนาเกมแนวต่อสู้โดยใช้ชุดคำสั่งซีดีเอ็กซ์เอนจิน และอัลกอริทึมแบบ เอ-สตาร์. วารสารเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 4(7): 38-46.
[10] วิภาดา เพชรรัตน์. (2554). สร้างระบบที่สามารถหา เส้นทางในการเดินทางไปพบปะลูกค้าที่มีระยะทาง รวมที่สั้นที่สุดหรือใช้เวลาที่น้อยที่สุดสำหรับลดค่าใช้ จ่ายในการเดินทาง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
[11] วีรชัย สว่างทุกข์. (2557). การใช้ระบบติดตามจีพีเอสแบบเปิดเผยรหัสต้นฉบับควบคู่สมาร์ตโฟน เพื่อใช้ติดตามรถขนส่ง กรณีศึกษาน้ำดื่มทิพย์เขลางค์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(1): 40-51
[12] วิภาดา เพชรรัตน์. (2554). ระบบนำทางอัจฉริยะ : กรณีศึกษา บริษัทวานิชรุ่งเรืองอินเตอร์เทรด จำกัด (สาขาภาคใต้). (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
[13] พีระเดช สำรวมรัมย์.(2558). การพัฒนาระบบติดตาม พิกัดผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง STROKE and STEMI ที่ต้อง ได้รับบริการจากระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแบบ เคลื่อนที่. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).
[14] Ahmed Ahmed, Elshaimaa Nada, Wafaa Al- Mutiri. (2017). University buses routing and tracking system. International Journal of Computer Science & InformationTechnology (IJCSIT), 9(1) : 95-104
[15] เพชรไพลิน รัสดีดวง, กฤติกา สังขวดีและ ปัญญา สังขวดี. (2560). แอปพลิเคชันส่งเสริมกีฬาวอลเลย์บอลบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการะดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัย ศิลปวัฒนธรรม ครั้งที่ 4. เพชรบุรีฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.