การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวน ตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ

Main Article Content

ยุวลักษณ์ จุลปาน
กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
อรัญญา ศรียัพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุดที่สามารถประยุกต์ใช้ในการช่วยลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ เพื่อลดปริมาณการใช้เรือในการลาดตระเวน โดยการนำเอากระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์มาประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจจากวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนทางทะเลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องใน 4 วิธีการ คือ เทคโนโลยีดาวเทียม เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ เซนเซอร์ใต้น้ำ และสถานีเรดาร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเชี่ยวชาญในวิธีการทั้ง 4 วิธีการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ โดยการให้คะแนนความสำคัญของแต่ละปัจจัย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาระดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยเพื่อที่มีผลต่อการเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ โดยการวินิจฉัยเปรียบเทียบทีละคู่ และการให้คะแนนความสำคัญระหว่างวิธีการที่มีผลต่อแต่ละปัจจัยโดยให้ผู้เชี่ยวชาญลงคะแนนเป็นเกณฑ์ตั้งแต่ 1 – 9 ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผู้ตัดสินใจให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ ใน 5 ลำดับแรก ตามลำดับ คือ ความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน ความเสี่ยงต่อการถูกโจมตี ความสะดวกในการใช้งาน ความน่าเชื่อถือของการใช้งาน และความเที่ยงตรงของข้อมูล สำหรับวิธีการที่เหมาะสมที่สุดที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ คือ เทคโนโลยีดาวเทียม

Article Details

How to Cite
[1]
จุลปาน ย., สุทธิวาทนฤพุฒิ ก., และ ศรียัพ อ., “การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวน ตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ”, NKRAFA J SCI TECH, ปี 15, ฉบับที่ 1, น. 30–41, ธ.ค. 2019.
บท
บทความวิจัย

References

Emad Felemban et al. (2015). Underwater Sensor Network Applications: A Comprehensive Survey. International Journal of Distributed Sensor Networks, 11: 1-14.

Klein Marine System, INC. (2561). HarborGuard-Pro Maritime Security & Surveillance. Retrieved on January 10, 2019, from http://kleinmarinesystems.com/

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

ดิศรณ์ ปนัดเศรณี. (2551). การศึกษาต้นทุนปฏิบัติการสำหรับการออกปฏิบัติการในทะเลของเรือรบในราชการกองทัพเรือ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

นิวัติ เนียมพลอย. (2553). ส่วนประกอบเรดาร์เบื้องต้น (RADAR Basic Components). สืบค้น 27 พฤศจิกายน 2561, จาก https://nniwat.wordpress.com

เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ และคณะ. (2550). ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลสถานการณ์ และ ข้อเสนอ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

“พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551.” เล่ม 125 ตอนที่ 26 ก, 1 กุมภาพันธ์ 2551.

ยศภาค โชติกพงศ์. (2551). การนำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้อย่างเต็มรูปแบบในกองทัพเรือ. โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ. สถาบันการวิชาทหารเรือชั้นสูง. เอกสารไม่ตีพิมพ์.

วชิรพร วงศ์นครสว่าง. (14 มกราคม 2562). รองเสนาธิการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ. สัมภาษณ์.

วิฑูรย์ ตันศิริมงคล. (2542). AHP กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก. กรุงเทพฯ: กราฟฟิคแอนด์ปริ้น.

วีรพงษ์ นาคประสิทธิ์. (2560). การใช้อากาศยานไร้คนขับแบบตรวจการณ์ สนับสนุนการปฏิบัติทางเรือของทัพเรือภาคที่ 3. โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ. เอกสารไม่ตีพิมพ์.

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (ไม่ระบุ). แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ.2558 – 2564). สืบค้น27 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.nsc.go.th

เสกสัณน์ ไชยมาตย์. (2556-2557). อากาศยานไร้นักบิน กำลังทางอากาศที่จำเป็นสำหรับกองทัพยุคใหม่. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ 5(ตุลาคม 2556 - มกราคม 2557): 79-86.