การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการแจกจ่ายยา ในห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคารคุ้มเกศ กองเภสัชกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นในกระบวนการแจกจ่ายยาในห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคารคุ้มเกศ กองเภสัชกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และเพื่อนำทฤษฎีทางวิศวกรรมอุตสาหการมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการลดความผิดพลาดของกระบวนการจ่ายยา ในห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกฯ และด้านการลดระยะเวลาการรอรับยาของผู้ป่วย โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย (1) ศึกษาสภาพการทำงานของห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกฯ (2) ศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของกระบวนการจ่ายยา (3) ศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาและทำการปรับปรุงตามแนวทางที่นำเสนอ (4) เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความผิดพลาดก่อนและหลังการปรับปรุงกระบวนการจ่ายยา และ (5) สรุปผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจากการศึกษาสภาพปัญหาและข้อขัดข้องของกระบวนการจ่ายยา พบว่า สาเหตุของปัญหาการรอรับยาเป็นเวลานาน
เกิดจากความผิดพลาดในขั้นตอนการบรรจุยา ผู้วิจัยได้นำหลักการยศาสตร์ซึ่งเป็นเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการมาใช้
ในการการปรับปรุงกระบวนการจ่ายยา โดยการเพิ่มรหัสที่เป็นตัวอักษรด้านมุมขวาบนของซองยา และปรับปรุงตู้เก็บยาให้มีรหัสที่เป็นตัวอักษรที่ตรงกัน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - สิงหาคม พ.ศ.2559 ซึ่งแบ่งระยะเวลาออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ระยะเวลาก่อนการปรับปรุง (เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน) และระยะเวลาหลังการปรับปรุง (เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม) โดยใช้แบบบันทึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สามารถลดความผิดพลาดลงได้ร้อยละ 25.39 และเวลาในการอรับยาของผู้ป่วยในระยะเวลา 4 เดือน ลดลงเทียบได้เป็น 138.4 นาที
Article Details
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ก่อนเท่านั้น