จลนพลศาสตร์การอบแห้งชิ้นขิงด้วยเครื่องอบแห้งสุญญากาศแบบจังหวะ

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • วีระพันธุ์ มานันตพงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • จิรวัฒน์ ์ สิตรานนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • เอกภูมิ บุญธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ขิง, ความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ, จลนพลศาสตร์, สูญญากาศแบบจังหวะ, รังสี อินฟราเรดย่านไกล

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้งชิ้นขิงที่อุณหภูมิ 50°C ความดันสมบูรณ์ในห้องอบแห้งคงที่ 10 kPa และความดันในห้องอบแห้งแบบจังหวะโดยใช้อัตราส่วนระหว่างช่วงเวลาความดันสุญญากาศต่อความดันบรรยากาศหรืออัตราส่วนพัลส์ 10:2 และ 15:2 นาที และวิเคราะห์คุณภาพด้านสีและความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ จากการทดลองพบว่า การอบแห้งขิงโดยใช้ความดันในห้องอบแห้งแบบจังหวะสามารถอบแห้งชิ้นขิงได้เร็วกว่าความดันในห้องอบแห้งคงที่ นอกจากนี้เมื่อช่วงเวลาความดันสุญญากาศเพิ่มขึ้นจาก 10:2 เป็น 15:2 นาที ส่งผลให้อัตราการอบแห้งเพิ่มขึ้น เวลาในการอบแห้งและความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะน้อยลง โดยการอบแห้งขิงที่อัตราส่วนพัลส์ 15:2 นาที มีความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ (SEC=28.84 MJ/kgwater-evap.) น้อยที่สุด สำหรับค่าสีของขิงหลังอบแห้งพบว่า ความสว่างมีค่าใกล้เคียงกันทุกการทดลอง ส่วนค่าสีแดงและสีเหลืองของขิงที่อบแห้งด้วยความดันสุญญากาศคงที่จะมีค่าสูงที่สุด

References

กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์, และศรีมา แจ้คำ. (2562). แบบจำลองทางคณิตศาสตร์การอบแห้งข่าด้วยสุญญากาศร่วมกับรังสีอินฟราเรด. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 9(3), 29-44.

ปุณยนุช อมรดลใจ. (2559). การใช้ขิงรักษาและบำบัดอาการโรคข้อเสื่อม. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 3(2), 13-22.

วรวุฒิ มานะงาน และกิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์. (2563). การอบแห้งดอกบัวด้วยเทคนิคสุญญากาศแบบพลัส์และอินฟราเรดร่วมกับการฝังในซิลิกาทราย. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 10(3), 84-98.

สมชาติ โสภณรณฤทธิ์. (2540). การอบแห้งเมล็ดพืชและอาหารบางประเภท. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2526). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม: ขิงแห้ง (มอก. 458-2526). กรุงเทพฯ.

อำไพศักดิ์ ทีบุญมา, และศักดิ์ชัย จงจำ. (2553). การอบแห้งขิงด้วยเทคนิคสุญญากาศร่วมอินฟราเรด. วารสารวิทยาศาสตร์บรูพา, 15(2), 76-86.

AOAC (Association of Official Analytical Chemists). (2000). Official methods of analysis. 17thed. association of official analytical chemists. Maryland: Gaithersburg, 2000.

Xie, Y., Gao, Z., Liu, Y., & Xiao, H. (2017). Pulsed vacuum drying of rhizome dioscoreae slices. LWT–Food Science and Technology, 80, 237-249.

Xie, L., Mujumdar, A.S., Fang, X.M., Wang, J., Dai, J.W., Du, Z.L., Xiao, H.W., Lui, Y., Gao, Z.J. (2017). Far-infrared radiation heating assisted pulsed vacuum drying (FIR-PVD) of wolfberry (Lycium barbarum L.): Effects on drying kinetics and quality attibutes. Food and Bioproducts Processing, 102, 320-331.

Zhang, W., Pan, Z., Xiao, H., Zheng, Z., Chen, C., Gao, Z. (2018). Pulsed vacuum drying (PVD) technology improves drying efficiency and quality of Poria cubes. Drying Technology, 36(8), 908-921.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27

How to Cite

[1]
วิธินันทกิตต ก., มานันตพงศ์ ว., ์ สิตรานนท์ จ., และ บุญธรรม เ., “จลนพลศาสตร์การอบแห้งชิ้นขิงด้วยเครื่องอบแห้งสุญญากาศแบบจังหวะ”, PSRU JITE, ปี 3, ฉบับที่ 1, น. 21–31, มิ.ย. 2021.